รายงานพิเศษ
บรรหาร ศิลปอาชา
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
เมื่อเช้าวันที่ 28 มี.ค. ผมบอกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ไปว่านายกฯ ควรลงมาเอง ไม่ควรส่งตัวแทน เพื่อรับฟังปัญหาจากคนเสื้อแดง รับฟังและหยิบยกขึ้นมาเจรจากันในรอบแรก ต่อไปหารือพรรคร่วมรัฐบาลจะเอาอย่างไร ค่อยตอบเขาไป มันดีกว่าส่งตัวแทนไป ตอนบ่ายนายกฯ ตัดสินใจเจรจาเอง จึงนัดกันตอนสี่โมงเย็น รอบแรกเขาไม่เอาแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล แค่ไปรับ ฟังความคิดเห็นก่อน
ตอนนี้นายวีระ มุสิกพงศ์ ไม่มั่นใจว่าการแก้ไขจะแก้อะไร เมื่อไหร่เสร็จ ถ้ารัฐบาลมีข้อกำ หนดที่แน่นอนอาจยุบสภาภายในปีนี้ สิ้นปีก็ได้ แล้วบอกเสื้อแดงให้ทราบ มันก็จบ
รัฐบาลควรกำหนดโร้ดแม็ปออกมาเลยว่าระหว่างนี้จะทำอะไร แก้กติกาก็คือแก้รัฐธรรมนูญ แก้กี่เดือนเสร็จ 3 หรือ 4 เดือน แก้ก.ย.-พ.ย. เสร็จก็ยุบสภา ที่สำคัญคือทั้งสองฝ่ายต้องจริงใจต่อกัน
แต่ถ้าไปรอหมดสมัยในปีหน้าคงไม่ทัน และเรื่องการทำประชาพิจารณ์คงทำไม่ทัน สุดท้ายต้องแล้วแต่รัฐบาล ถือว่าพบกันครึ่งทาง
ถ้าให้ยุบภายใน 15 วัน ผมเห็นว่ามันเร็วเกินไป เพราะตอนนี้มีปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไข งบประมาณปี 2554 กำลังจะพิจารณา ถ้ายุบสภางบประมาณต้องเลื่อนออกไปอีกจะเกิดความเสียหาย
รัฐธรรมนูญมันรู้อยู่ว่าควรแก้อะไรบ้าง แต่ไม่แก้เท่านั้นเอง คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีออกมา 6 ประเด็น จะยึดถืออันนี้ก็ได้ หรือถ้าไม่ยึด จะแก้อะไรกี่ข้อก็ยกกันมา มีทางทำได้หลายทาง ไม่ยาก
แต่ถ้าจะมัวทำประชามติคงไม่ได้แก้กัน ใช้เวลามาก หากจะหยิบยก 2 ประเด็นที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยเสนอขึ้นมาแก้ก่อนก็ทันเวลา ถ้าจะแก้กันจริงๆ แต่รัฐบาลต้องลงมาเล่นด้วย ไม่ใช่โยนสภา เพราะสมัยผมแก้รัฐธรรมนูญ ผมลงมาเอง ใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน
แต่ถ้านายกฯ ต้องการหารือกับหลายฝ่ายเพื่อให้ตกผลึกนั้น คงไม่ได้แก้ เพราะความเห็นจะมีหลายกลุ่ม
ทั้งนี้ ประเด็นกรรมการบริหารพรรคทำผิดแล้วโทษถึงยุบพรรค ตรงนี้ต้องแก้เพราะถ้าไม่แก้แล้วเลือกตั้งใหม่ก็มีถูกยุบอีก ถ้าฝ่ายแดงขึ้นมาพรรคก็ถูกยุบอีก ถ้าใครไปร่วมกับฝ่ายแดงก็ถูกยุบอีก มันเห็นเหตุการณ์กันอยู่แล้ว
ข้อเสนอยุบสภาภายใน 15 วัน มันทำไม่ได้ แต่รัฐบาลต้องมีธงว่าจะทำอย่างไร ฝ่ายนายวีระ ต้องให้เวลารัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลพอเย็นนี้หารือกันเรียบร้อย ต้องหารือกับพรรคร่วมว่าจะเอาอย่างไร อาจไม่ต้องตอบวันนี้ก็ได้
แต่ต้องมีรูปธรรมว่าจะแก้อย่างไร ยุบสภาเมื่อไหร่ แล้วมาออกทีวี แต่ถ้าวันนี้เจรจาแล้วเหมือนวันที่ 28 มี.ค.มันก็หาจุดจบไม่ได้
ถ้าเจรจากันไม่ได้ ผมห่วงบ้านเมือง ถ้ามีความจริงใจต่อกัน ปัญหาก็แก้กันได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายแดงและเดินหน้ากันต่อไปได้
จาตุรนต์ ฉายแสง
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
การเจรจาถือเป็นเรื่องที่ดี การที่กลุ่มนปช.เสนอให้ยุบสภาภายใน 15 วัน จากเดิมให้ยุบทันทีนั้น ช่วยลดความตึงเครียดลงได้บ้าง แต่สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ พูดแสดงให้เห็นว่ายังไม่ทุกข์ร้อนถึงวิกฤต แต่กลับหาทางให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งได้นานที่สุด เกรงว่าหากยื้อเวลากลายเป็นกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
ผมตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่นายกฯ เสนอให้แก้กฎกติกาให้ถูกต้องก่อนยุบสภานั้น ก่อนหน้านี้มีเงื่อนไข 3 ข้อ 1. ให้เศรษฐกิจดีขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว 2.ทุกฝ่ายเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้งได้ ซึ่งนปช.แสดงชัดเจนว่าทุกฝ่ายทำ ได้โดยไม่ต้องกังวลใจ
แต่ข้อที่ 3 เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่นายกฯ หยิบยกมาพูดเป็นการเสนอที่แปลกประหลาด เพราะเสนอในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ แต่พูดให้คนเข้าใจว่าพร้อมยุบสภา เพราะนายกฯ ไม่ระบุว่าจะแก้มาตราใด เมื่อไหร่ แก้อย่างไร แต่เข้าใจว่าคงเป็นเรื่องการยุบพรรค
ที่บอกว่านายกฯ เสนอในสิ่งที่ทำไม่ได้ คือพรรคประชาธิปัตย์มีมติไม่ร่วมแก้รัฐธรรมนูญในทุกประเด็น นายกฯ จึงพูดเพื่อหาเสียงให้ตัวเอง
ทั้งนี้ ผมเห็นด้วยกับนักวิชาการที่ระบุให้ยุบสภาใน 3 เดือน แต่เรื่องแก้กติกาไม่มีทางทำได้
ต้องถามนายกฯ ว่าจะใช้เวลาแก้กติกานานเท่าไหร่ เพราะถ้าซักไซ้ลงไปจริงก็ทำไม่ได้ ยิ่งอยู่นานบ้านเมืองยิ่งเกิดวิกฤตที่รุนแรง ถ้ายุบสภาเร็วจะแก้ไขปัญหาและวิกฤตของประเทศได้เร็วขึ้น
ส่วนทิศทางการเจรจาต่อไปนั้น ถ้านายกฯ ยังพลิ้วและพูดหาเสียง คนฟังจับไม่ได้ไล่ไม่ทันก็ต้องแก้ปัญหากันต่อไป
แต่ขอฝากถามว่านายกฯ ที่จะแกกติกานั้นจะแก้เมื่อไหร่ มาตราอะไร เพราะถามแค่นี้ก็ตอบไม่ได้แล้ว
ประสพสุข บุญเดช
ประธานวุฒิสภา
การเจรจาระหว่างนายกฯ กับแกนนำนปช.เมื่อวันที่ 29 มี.ค. อย่างน้อยก็มีความคืบหน้า ต้องรอการเจรจาครั้งที่สองว่าจะเป็นอย่างไร แต่เห็นความหวังทางออกประเทศ ซึ่งมันเป็นจุดเริ่มต้น
ผมได้พูดมาตลอดว่าต้องเจรจากัน แต่การเจรจามีการถ่ายทอดสดมันตกลงกันลำบาก เพราะระหว่างถ่ายทอดสดมันจะเจรจาได้อย่างไร ควรเจรจากันในห้องปิดก่อนแล้วมาแถลงภายหลัง
แม้แต่ละฝ่ายมีจุดยืนไม่ตรงกัน แต่คงหาทางตกลงกันได้ ผมมองว่ายังมีความหวังอยู่ในการเจรจาครั้งที่สอง ส่วนข้อเสนอยุบสภาเมื่อไหร่นั้น รัฐบาลต้องตัดสินใจโดยมองว่าทำอย่างไรจะเกิดความสงบสุขอย่างถาวร
หากเกิดความสงบจะทำอย่างไรก็ต้องทำ รัฐบาลต้องรู้ปัญหารู้ว่าผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นอย่างไร ตอนนี้ต่างชาติจับตามองอยู่ โดยเฉพาะการประชุมสหภาพรัฐสภา (ไอพียู) แต่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ไม่น่ามีอะไร ต่างประเทศมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว เพราะมีฝรั่งไปร่วมชุมนุม ไปร่วมท่านข้าวด้วย ก็ไม่มีผลกระทบอะไร แต่อย่าทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นก็พอ
หากการเจรจาครั้งสุดท้ายไม่มีทางออก วุฒิสภาจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ในญัตติการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ที่สมาชิกลงชื่อเสนอ เพื่อให้รัฐบาลมาฟังข้อเสนอแนะและข้อติติง หาทางออกให้ประเทศ
ไชยันต์ รัชชกูล
อาจารย์มหาวิทยาลัยพายัพและตัวแทน
เครือข่ายสันติประชาธรรม
การเจรจาระหว่างรัฐบาลและแกนนำนปช. มองได้ 2 ด้าน ด้านหนึ่งทำให้ฝ่ายเสื้อแดงได้อธิบายผ่านสื่อหลัก
อีกด้านหนึ่งเห็นว่านี่ไม่ใช่การเจรจา เป็นเพียงการแสดงของแต่ละฝ่าย พูดให้คนของตัวเองฟัง การเจรจาลักษณะนี้ไม่มีทางตกลงกันได้
การเจรจาควรมีคนที่ทั้งสองฝ่ายไว้วางใจเป็นคนกลางและเจรจากันเองเงียบๆ ก่อน กระทั่งประเด็นขมวด จนจะตกลงกันได้แล้ว จึงประกาศสู่สาธารณะ หลายแห่งใช้วิธีนี้สำเร็จมาแล้ว และไม่จำเป็นต้องเอาคนที่มีอำนาจตัดสินใจมาเจรจา แต่ครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ออกมาเอง ถือเป็นเรื่องที่ดี
วันนี้แม้จะมีการเจรจาอีกครั้งหนึ่งแต่คิดว่ายังไม่ได้จุด จบหรือข้อสรุป คงยื้อกันต่อไปอย่างนี้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือบริบทอื่นๆ เกิดขึ้น
ส่วนการยุบสภาเป็นทางออกหรือไม่ ผมเปรียบเทียบง่ายๆ ว่าเหมือนตอนเป็นเล็บขบ หมอบอกให้กินยา บอก ให้ตัด ผมไม่ทำเพราะเคยทำมาแล้วมันกลับมาเป็นอีก
ต้องแยกให้ออกว่าอันไหนคือการแก้ปัญหาในห้องฉุกเฉิน อันไหนคือการแก้ปัญหาระยะยาว ปัญหาที่เกิดอยู่ตอนนี้ที่คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว คือปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลไม่ใช่ปัญหาประชาธิปไตย
ทางออกวันนี้คิดว่ารัฐบาลควรประกาศเลยว่าจะยุบสภา จะยุบเมื่อไหร่นั้นไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ว่าลากยาวไปเป็นปี จะยุบใน 15 วัน ยุบใน 3 เดือนก็ว่าไป ทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่เสียหน้า แต่ต้องประกาศต่อสาธารณชนเลยว่านี่เป็นสัญญาลูกผู้ชาย
ส่วนที่นายกฯ เสนอให้แก้กติกาก่อนแล้วค่อยยุบสภานั้น
ผมเห็นว่าประกาศยุบสภาก่อนค่อยมาแก้กันทีหลังก็ได้ นายอภิสิทธิ์เคยเสียคำพูดไปแล้วที่บอกว่าเข้ารับตำแหน่งแล้วจะสมานฉันท์ก็ยังไม่สมานฉันท์ จะแก้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่แก้
อย่างนี้ก็กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ คนไม่อยากจะเชื่ออีก
บรรหาร ศิลปอาชา / จาตุรนต์ ฉายแสง |
ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
เมื่อเช้าวันที่ 28 มี.ค. ผมบอกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ไปว่านายกฯ ควรลงมาเอง ไม่ควรส่งตัวแทน เพื่อรับฟังปัญหาจากคนเสื้อแดง รับฟังและหยิบยกขึ้นมาเจรจากันในรอบแรก ต่อไปหารือพรรคร่วมรัฐบาลจะเอาอย่างไร ค่อยตอบเขาไป มันดีกว่าส่งตัวแทนไป ตอนบ่ายนายกฯ ตัดสินใจเจรจาเอง จึงนัดกันตอนสี่โมงเย็น รอบแรกเขาไม่เอาแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล แค่ไปรับ ฟังความคิดเห็นก่อน
ตอนนี้นายวีระ มุสิกพงศ์ ไม่มั่นใจว่าการแก้ไขจะแก้อะไร เมื่อไหร่เสร็จ ถ้ารัฐบาลมีข้อกำ หนดที่แน่นอนอาจยุบสภาภายในปีนี้ สิ้นปีก็ได้ แล้วบอกเสื้อแดงให้ทราบ มันก็จบ
รัฐบาลควรกำหนดโร้ดแม็ปออกมาเลยว่าระหว่างนี้จะทำอะไร แก้กติกาก็คือแก้รัฐธรรมนูญ แก้กี่เดือนเสร็จ 3 หรือ 4 เดือน แก้ก.ย.-พ.ย. เสร็จก็ยุบสภา ที่สำคัญคือทั้งสองฝ่ายต้องจริงใจต่อกัน
แต่ถ้าไปรอหมดสมัยในปีหน้าคงไม่ทัน และเรื่องการทำประชาพิจารณ์คงทำไม่ทัน สุดท้ายต้องแล้วแต่รัฐบาล ถือว่าพบกันครึ่งทาง
ถ้าให้ยุบภายใน 15 วัน ผมเห็นว่ามันเร็วเกินไป เพราะตอนนี้มีปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไข งบประมาณปี 2554 กำลังจะพิจารณา ถ้ายุบสภางบประมาณต้องเลื่อนออกไปอีกจะเกิดความเสียหาย
รัฐธรรมนูญมันรู้อยู่ว่าควรแก้อะไรบ้าง แต่ไม่แก้เท่านั้นเอง คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีออกมา 6 ประเด็น จะยึดถืออันนี้ก็ได้ หรือถ้าไม่ยึด จะแก้อะไรกี่ข้อก็ยกกันมา มีทางทำได้หลายทาง ไม่ยาก
แต่ถ้าจะมัวทำประชามติคงไม่ได้แก้กัน ใช้เวลามาก หากจะหยิบยก 2 ประเด็นที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยเสนอขึ้นมาแก้ก่อนก็ทันเวลา ถ้าจะแก้กันจริงๆ แต่รัฐบาลต้องลงมาเล่นด้วย ไม่ใช่โยนสภา เพราะสมัยผมแก้รัฐธรรมนูญ ผมลงมาเอง ใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน
แต่ถ้านายกฯ ต้องการหารือกับหลายฝ่ายเพื่อให้ตกผลึกนั้น คงไม่ได้แก้ เพราะความเห็นจะมีหลายกลุ่ม
ประสพสุข บุญเดช /ไชยันต์ รัชชกูล |
ทั้งนี้ ประเด็นกรรมการบริหารพรรคทำผิดแล้วโทษถึงยุบพรรค ตรงนี้ต้องแก้เพราะถ้าไม่แก้แล้วเลือกตั้งใหม่ก็มีถูกยุบอีก ถ้าฝ่ายแดงขึ้นมาพรรคก็ถูกยุบอีก ถ้าใครไปร่วมกับฝ่ายแดงก็ถูกยุบอีก มันเห็นเหตุการณ์กันอยู่แล้ว
ข้อเสนอยุบสภาภายใน 15 วัน มันทำไม่ได้ แต่รัฐบาลต้องมีธงว่าจะทำอย่างไร ฝ่ายนายวีระ ต้องให้เวลารัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลพอเย็นนี้หารือกันเรียบร้อย ต้องหารือกับพรรคร่วมว่าจะเอาอย่างไร อาจไม่ต้องตอบวันนี้ก็ได้
แต่ต้องมีรูปธรรมว่าจะแก้อย่างไร ยุบสภาเมื่อไหร่ แล้วมาออกทีวี แต่ถ้าวันนี้เจรจาแล้วเหมือนวันที่ 28 มี.ค.มันก็หาจุดจบไม่ได้
ถ้าเจรจากันไม่ได้ ผมห่วงบ้านเมือง ถ้ามีความจริงใจต่อกัน ปัญหาก็แก้กันได้ทั้งฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายแดงและเดินหน้ากันต่อไปได้
จาตุรนต์ ฉายแสง
อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
การเจรจาถือเป็นเรื่องที่ดี การที่กลุ่มนปช.เสนอให้ยุบสภาภายใน 15 วัน จากเดิมให้ยุบทันทีนั้น ช่วยลดความตึงเครียดลงได้บ้าง แต่สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ พูดแสดงให้เห็นว่ายังไม่ทุกข์ร้อนถึงวิกฤต แต่กลับหาทางให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งได้นานที่สุด เกรงว่าหากยื้อเวลากลายเป็นกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
ผมตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่นายกฯ เสนอให้แก้กฎกติกาให้ถูกต้องก่อนยุบสภานั้น ก่อนหน้านี้มีเงื่อนไข 3 ข้อ 1. ให้เศรษฐกิจดีขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว 2.ทุกฝ่ายเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้งได้ ซึ่งนปช.แสดงชัดเจนว่าทุกฝ่ายทำ ได้โดยไม่ต้องกังวลใจ
แต่ข้อที่ 3 เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่นายกฯ หยิบยกมาพูดเป็นการเสนอที่แปลกประหลาด เพราะเสนอในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ แต่พูดให้คนเข้าใจว่าพร้อมยุบสภา เพราะนายกฯ ไม่ระบุว่าจะแก้มาตราใด เมื่อไหร่ แก้อย่างไร แต่เข้าใจว่าคงเป็นเรื่องการยุบพรรค
ที่บอกว่านายกฯ เสนอในสิ่งที่ทำไม่ได้ คือพรรคประชาธิปัตย์มีมติไม่ร่วมแก้รัฐธรรมนูญในทุกประเด็น นายกฯ จึงพูดเพื่อหาเสียงให้ตัวเอง
ทั้งนี้ ผมเห็นด้วยกับนักวิชาการที่ระบุให้ยุบสภาใน 3 เดือน แต่เรื่องแก้กติกาไม่มีทางทำได้
ต้องถามนายกฯ ว่าจะใช้เวลาแก้กติกานานเท่าไหร่ เพราะถ้าซักไซ้ลงไปจริงก็ทำไม่ได้ ยิ่งอยู่นานบ้านเมืองยิ่งเกิดวิกฤตที่รุนแรง ถ้ายุบสภาเร็วจะแก้ไขปัญหาและวิกฤตของประเทศได้เร็วขึ้น
ส่วนทิศทางการเจรจาต่อไปนั้น ถ้านายกฯ ยังพลิ้วและพูดหาเสียง คนฟังจับไม่ได้ไล่ไม่ทันก็ต้องแก้ปัญหากันต่อไป
แต่ขอฝากถามว่านายกฯ ที่จะแกกติกานั้นจะแก้เมื่อไหร่ มาตราอะไร เพราะถามแค่นี้ก็ตอบไม่ได้แล้ว
ประสพสุข บุญเดช
ประธานวุฒิสภา
การเจรจาระหว่างนายกฯ กับแกนนำนปช.เมื่อวันที่ 29 มี.ค. อย่างน้อยก็มีความคืบหน้า ต้องรอการเจรจาครั้งที่สองว่าจะเป็นอย่างไร แต่เห็นความหวังทางออกประเทศ ซึ่งมันเป็นจุดเริ่มต้น
ผมได้พูดมาตลอดว่าต้องเจรจากัน แต่การเจรจามีการถ่ายทอดสดมันตกลงกันลำบาก เพราะระหว่างถ่ายทอดสดมันจะเจรจาได้อย่างไร ควรเจรจากันในห้องปิดก่อนแล้วมาแถลงภายหลัง
แม้แต่ละฝ่ายมีจุดยืนไม่ตรงกัน แต่คงหาทางตกลงกันได้ ผมมองว่ายังมีความหวังอยู่ในการเจรจาครั้งที่สอง ส่วนข้อเสนอยุบสภาเมื่อไหร่นั้น รัฐบาลต้องตัดสินใจโดยมองว่าทำอย่างไรจะเกิดความสงบสุขอย่างถาวร
หากเกิดความสงบจะทำอย่างไรก็ต้องทำ รัฐบาลต้องรู้ปัญหารู้ว่าผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นอย่างไร ตอนนี้ต่างชาติจับตามองอยู่ โดยเฉพาะการประชุมสหภาพรัฐสภา (ไอพียู) แต่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ไม่น่ามีอะไร ต่างประเทศมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว เพราะมีฝรั่งไปร่วมชุมนุม ไปร่วมท่านข้าวด้วย ก็ไม่มีผลกระทบอะไร แต่อย่าทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นก็พอ
หากการเจรจาครั้งสุดท้ายไม่มีทางออก วุฒิสภาจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ในญัตติการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ที่สมาชิกลงชื่อเสนอ เพื่อให้รัฐบาลมาฟังข้อเสนอแนะและข้อติติง หาทางออกให้ประเทศ
ไชยันต์ รัชชกูล
อาจารย์มหาวิทยาลัยพายัพและตัวแทน
เครือข่ายสันติประชาธรรม
การเจรจาระหว่างรัฐบาลและแกนนำนปช. มองได้ 2 ด้าน ด้านหนึ่งทำให้ฝ่ายเสื้อแดงได้อธิบายผ่านสื่อหลัก
อีกด้านหนึ่งเห็นว่านี่ไม่ใช่การเจรจา เป็นเพียงการแสดงของแต่ละฝ่าย พูดให้คนของตัวเองฟัง การเจรจาลักษณะนี้ไม่มีทางตกลงกันได้
การเจรจาควรมีคนที่ทั้งสองฝ่ายไว้วางใจเป็นคนกลางและเจรจากันเองเงียบๆ ก่อน กระทั่งประเด็นขมวด จนจะตกลงกันได้แล้ว จึงประกาศสู่สาธารณะ หลายแห่งใช้วิธีนี้สำเร็จมาแล้ว และไม่จำเป็นต้องเอาคนที่มีอำนาจตัดสินใจมาเจรจา แต่ครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ออกมาเอง ถือเป็นเรื่องที่ดี
วันนี้แม้จะมีการเจรจาอีกครั้งหนึ่งแต่คิดว่ายังไม่ได้จุด จบหรือข้อสรุป คงยื้อกันต่อไปอย่างนี้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือบริบทอื่นๆ เกิดขึ้น
ส่วนการยุบสภาเป็นทางออกหรือไม่ ผมเปรียบเทียบง่ายๆ ว่าเหมือนตอนเป็นเล็บขบ หมอบอกให้กินยา บอก ให้ตัด ผมไม่ทำเพราะเคยทำมาแล้วมันกลับมาเป็นอีก
ต้องแยกให้ออกว่าอันไหนคือการแก้ปัญหาในห้องฉุกเฉิน อันไหนคือการแก้ปัญหาระยะยาว ปัญหาที่เกิดอยู่ตอนนี้ที่คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหว คือปัญหาความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลไม่ใช่ปัญหาประชาธิปไตย
ทางออกวันนี้คิดว่ารัฐบาลควรประกาศเลยว่าจะยุบสภา จะยุบเมื่อไหร่นั้นไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ว่าลากยาวไปเป็นปี จะยุบใน 15 วัน ยุบใน 3 เดือนก็ว่าไป ทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่เสียหน้า แต่ต้องประกาศต่อสาธารณชนเลยว่านี่เป็นสัญญาลูกผู้ชาย
ส่วนที่นายกฯ เสนอให้แก้กติกาก่อนแล้วค่อยยุบสภานั้น
ผมเห็นว่าประกาศยุบสภาก่อนค่อยมาแก้กันทีหลังก็ได้ นายอภิสิทธิ์เคยเสียคำพูดไปแล้วที่บอกว่าเข้ารับตำแหน่งแล้วจะสมานฉันท์ก็ยังไม่สมานฉันท์ จะแก้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่แก้
อย่างนี้ก็กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ คนไม่อยากจะเชื่ออีก