ขณะนี้เมืองไทยมีการชุมนุมเรียกร้องโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) การเรียกร้องประสบความสำเร็จไปหนึ่งก้าว เมื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี” ยอมเจรจา “ตัวต่อตัว” กับแกนนำนปช....แต่ยังเหลืออีกหลายก้าวเพราะรัฐบาลรับไม่ได้กับข้อเสนอ “ยุบสภา”...และรัฐบาลก็รับไม่ได้กับ “
หนังเรื่องนี้จึงยังอีกหลายม้วน...เมื่อมีอีกหลายม้วน ฉบับนี้ บางกอกทูเดย์เลยขอขุดคุ้ยระเบียบการชุมนุมของนักเรียกร้องในต่างแดนมานำเสนอเสรีภาพในการชุมนุมในสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันมีเสรีภาพในการชุมนุมแสดงความคิดเห็น หรือจะประท้วงรัฐบาลได้ แต่ผู้ชุมนุมต้องไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ข่มขู่คุกคาม ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่พูดเรื่องเชื้อชาติศาสนา ไม่ทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ต้องปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่ด้วยความเคารพ อย่าไปกีดขวางการจราจรตลอดเวลา
ชุมนุม อย่าไปเพ่นพ่านบนถนน ยกเว้นตอนข้ามถนนที่สัญญานไฟจราจรเท่านั้น ห้ามไปกีดขวางตรงทางที่คนจะข้ามทางม้าลาย อย่าไปเผชิญหน้ากันในระยะ 10 ฟุตหากมีคนชุมนุมสองฝ่าย ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะทะเลาะและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน ต้องหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ของทั้งสองฝ่าย เพราะผู้ประท้วงที่เผชิญหน้ากันก็คือคนอเมริกันด้วยกัน ห้ามยกนิ้วกลางให้อีกฝ่าย ห้ามใช้คำพูดด่าว่าอีกฝ่ายว่าไอ้งั่ง หรือบอกให้กลับบ้านหรือไปหางานทำซะ หากมีใครให้นิ้ว
กลาง หรือด่าว่า ก็ต้องอดทน อดกลั้น สิทธิก็คือสิทธิ ไม่ว่ากัน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการใช้สิทธิเสรีภาพนั้น ๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญอเมริกัน ถ้าทำผิดกฎหมาย มีการใช้ความรุนแรง หรือละเมิดข้อตกลงกับตำรวจไว้ก่อนหน้านี้ ตำรวจมีสิทธิสลายการชุมนุมและจับกุมแกนนำได้ ในยุโรปและออสเตรเลีย ผู้ที่จัดการชุมนุม ต้องขออนุญาตจากตำรวจท้องที่ หรือรัฐบาลท้องถิ่น หรือจากคณะกรรมการเพื่อการชุมนุมที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยแจ้งวัตถุประสงค์ ระยะเวลา
พื้นที่ที่จะชุมนุม จำนวนคนที่จะเข้าร่วมชุมนุม จะใช้เส้นทางไหนบ้างในการเดินขบวน โดยทั่วไป จะไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมค้างคืน ในอังกฤษ หากผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง ตำรวจสามารถสลายการชุมนุมได้ ตามหลักที่ว่า “ผู้ประท้วงต้องชุมนุมภายใต้กฎหมาย” ญี่ปุ่น กำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องขออนุญาตล่วงหน้า 5 วันอย่างน้อย โดยแกนนำอย่างน้อย 3 คนต้องไปลงทะเบียนไว้ เพราะหากมีอะไรเกิดขึ้น แกนนำต้องรับผิดชอบ ส่วนเรื่องอื่นก็คล้ายๆ กัน แต่ที่เจ้าหน้าที่เน้น
มากคือ ต้องไม่ใช้ความรุนแรง ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วไป ห้ามใช้คำพูดข่มขู่ คุกคาม ใช้ภาษาหยาบคาย ห้ามก้าวร้าว ประเทศต่างๆ กำหนดเงื่อนไขประการหนึ่งที่ผู้ชุมนุมต้องปฏิบัติ คือ ผู้ชุมนุมต้องไม่พูดจาหรือแสดงท่าทีข่มขู่คุกคามคนอื่น หรือปลุกระดมให้คนขัดแย้งกัน แตกแยก เกลียดชังกัน ทำร้ายกัน หรือทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินสาธารณะ ถ้าถึงเวลาที่ตกลงกันไว้แล้วผู้ชุมนุมยังไม่ยอมเลิก หรือเปลี่ยนเส้นทางเดิน หรือทำผิดจากที่
ตกลงกันไว้ ตำรวจสามารถระงับการชุมนุมหรือควบคุมตัวแกนนำได้ทันที ในเกาหลีใต้ หากผู้ชุมนุมทำผิดกฎหมายเรื่องใด ตำรวจจะใช้กฎหมายเฉพาะกรณีเข้าจัดการ เช่น ผู้ชุมนุมปิดถนนก็ใช้กฎหมายจราจร ถ้าผู้ชุมนุมขัดขืนก็ใช้การปฏิบัติเข้มข้นขึ้น และถ้าตำรวจทำไม่ไหว สามารถขอการสนับสนุนจากฝ่ายทหารได้ บางประเทศออกกฎหมายเฉพาะนำมาใช้ช่วงการชุมนุมประท้วงที่คิดว่าอาจนำไปสู่ความรุนแรง โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวบรรดาหัวโจกไว้
ได้ระยะหนึ่ง เมื่อการชุมนุมยุติ กฎหมายนี้ก็เลิกไป บางประเทศประกาศให้วันชุมนุมใหญ่เป็นวันหยุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน สำหรับการเรียกร้องของคนไทย แม้จะมีภาษาพ่อขุนหลุดออกไปบ้าง แต่สิ่งที่ผู้ชุมนุมไม่ว่าประเทศใดต้อง “ระวัง” ให้มากที่สุด คือ “นักยั่วยุ” หรือที่บ้านเราเรียกว่า “มือที่สาม” เป็นสำคัญ