คอลัมน์ รายงานพิเศษ
สืบเนื่องจากคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว รวม 5 คน จำนวน 46,373 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน
กฎหมายกำหนดให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 28 มี.ค.
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. นายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ นายสมพร พงษ์สุวรรณ ทนาย ความคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา และนายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความนายพานทองแท้ และ น.ส.พิน ทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว เข้ายื่นคำอุทธรณ์คดีที่ศาลฎีกาฯ
อุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ มีความยาว 246 หน้า คุณหญิงพจมาน 60 หน้า นายพานทองแท้ 35 หน้า และน.ส.พินทองทา 35 หน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ 49 หน้า นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน 29 หน้า
เนื้อหาคำอุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว ขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์ของทั้งหมดไว้พิจารณา และให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่ง หรือพิพากษาให้ยกคำร้องของอัยการสูงสุดผู้ร้องในคดีนี้
และมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่พิพากษาให้เงินจากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเงินปันผลจำนวน 46,373,687,454.70 บาท รวมทั้งมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมดทุกบัญชี
นอกจากนี้ ทั้งหมดยื่นคำขอทุเลาการบังคับคดีไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งเงินในบัญชีเงินฝากที่มีชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมด ให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา
อุทธรณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมด ยื่นต่อศาลฎีกาฯ สรุปประเด็นได้ ดังนี้
พยานหลักฐานใหม่ที่ใช้ในการยื่นอุทธรณ์ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ม.278 ประกอบด้วย
1. หนังสือของการไปรษณีย์และการสื่อสารของประเทศพม่า ยืนยันว่านโยบายการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซ์ ซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท. ทักษิณ และการเอื้อประโยชน์ตามที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย
2. หนังสือของบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ยืนยันว่า ตามสัญญาสัมปทานให้สิทธิกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ใช้สัญญาณความถี่ซีแบนด์ ทั้งหมดเพียงหนึ่งช่องทางจากดาวเทียมทุกดวง ไม่ใช่ดวงละหนึ่งช่องตามที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย ดังนั้น แม้ดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่มีซีแบนด์ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาสัมปทาน
3. กฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากล กติการะหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าการที่ศาลฎีกาฯ ยอมรับประกาศคณะกรรมการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มาใช้บังคับ และให้มีผลเหนือกว่ารัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติที่ออกโดยกระบวนการนิติบัญญัติ เป็นการผิดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
4. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยประเด็นการ ออกพ.ร.ก.สรรพสามิต แสดงให้เห็นว่าศาลฎีกาฯ ต้องผูกพัน จะพิพากษาขัดแย้งไม่ได้
5. บทความและบทวิเคราะห์ทางวิชาการที่มีความเห็นแตกต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาฯ เช่น บทวิเคราะห์ของนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่ามาตรการทั้ง 5 ข้อ ตามข้อกล่าวหาของอัยการสูงสุด รัฐไม่ได้เสียหาย
ประเด็นข้างต้น พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะนำพยานหลายปากที่เกี่ยวข้องเข้าไต่สวน แต่ศาลฎีกาฯ ไม่อนุญาต จึงถือว่าเป็นพยานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาวินิจฉัยจากศาลฎีกามาก่อน จึงเข้าเงื่อนไขเป็นพยานหลักฐานใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ม.278
อุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ยังอ้างว่าพยานหลักฐานใหม่อีกส่วนหนึ่งซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว อ้างว่าศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ครบถ้วน คือคำเบิกความของพยานที่มีจำนวนหลายสิบปาก เช่น คำเบิกความของนายทะเบียนหลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ ปลัดกระทรวงและอธิบดี คณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวอ้างว่า ศาลฎีกาฯ ไม่ได้หยิบยกคำเบิกความของพยานเหล่านั้น ซึ่งเบิกความสอดคล้องกันมาวินิจฉัยและไม่ได้วินิจฉัยให้เหตุผลว่าพยานเหล่านั้นไม่ควรเชื่อถือ หรือเบิกความไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริงอย่างไร
และพยานเอกสารจำนวนมากที่พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวนำเสนอต่อศาลในชั้นไต่สวนที่แสดงที่มาที่ไปในประเด็นต่างๆ สามารถหักล้างข้อกล่าวหาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และอัยการได้ ศาลฎีกาฯ ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคำพิพากษา
เช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการตราพ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต และมติคณะรัฐมนตรีให้นำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องผูกพันศาลฎีกาฯ แต่ในคำ พิพากษากลับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างอื่นที่ขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีใบหุ้น ทะเบียนหุ้น เอกสารแสดงการชำระหนี้ผ่านธนาคาร บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และเอกสารการจ่ายเงินปันผล
เอกสารต่างๆ ยืนยันการเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์หุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่กฎหมายมีบทบัญญัติให้สันนิษ ฐานว่าผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่ได้ระบุในเอกสาร จึงแสดงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน โอนขายหุ้นทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ปี 2543 ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่ศาลฎีกาฯ กลับไม่ได้วินิจฉัยให้ครบถ้วน เพียงแต่นำเอาเอกสารเรื่องการแจ้งการได้มา และจำหน่ายหลักทรัพย์มาวินิจฉัยว่าไม่ใช่เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้น แต่กลับนำพฤติการณ์อื่นมาวินิจฉัยประกอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้น
ขณะที่คำพิพากษายังมีบางประเด็นที่คลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริง เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินค่าหุ้นที่นายบรรณพจน์ออกให้คุณหญิงพจมานหายไป แล้วนายบรรณพจน์ออกให้ใหม่ แต่มีการแก้ไขคำนำหน้าจาก "นาง" เป็น "คุณหญิง" ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ
ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยเพียงว่าเป็นพิรุธ เพราะตั๋วสัญญาฉบับอื่นไม่ได้หายไปด้วย แต่ก็ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าตั๋วสัญญาที่เป็นพิรุธนั้นมีการชำระหนี้ครบถ้วนผ่านสถาบันการเงินจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ก่อนจะถูกตั้งข้อกล่าวหา
และยังมีการแสดงตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ในรายการบัญชีทรัพย์สินและได้ยื่นต่อ ป.ป.ช.ตั้งแต่ปี 2544 แล้ว จึงเป็นการทำตั๋วย้อนหลังไม่ได้ การดูเพียงเรื่องคำนำหน้าโดยไม่ดูเรื่องสาระสำคัญอื่นจึงเท่ากับศาลฎีกาฯ ยังไม่ได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญในคดี อีกทั้งการชำระหนี้โดยออกตั๋วสัญญาเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองให้ปฏิบัติได้ แต่เหตุใดจึงกลายเป็นความไม่ถูกต้อง ซึ่งคำพิพากษาไม่ได้ให้เหตุผลไว้
เช่นเดียวกับประเด็นการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปฯ ให้กับบุตรและคนในครอบครัวต่ำกว่าราคาตลาด ราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเป็นพาร์หรือราคาทุน กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าไม่มีการซื้อขายหุ้นกันจริง ทั้งที่การยกทรัพย์สินให้กับบุตรสามารถทำได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทน แต่ศาลฎีกาฯ กลับเห็นว่าเป็นการโอนหุ้นให้กับบุตรชาย บุตรสาว และคนในครอบครัวถือหุ้นแทนพ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนประเด็นราคาหุ้น บ.ชินคอร์ป ในตลาดหลักทรัพย์ขึ้นลงตามปกติสอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์มาโดยตลอด โดยก่อนพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ หุ้นชินคอร์ป มีมูลค่ารวม 30,000 ล้านบาทเศษ ดัชนีอยู่ที่ 327.51 จุด ในขณะช่วงเวลาที่ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ มีราคาอยู่ 70,000 ล้านบาท ดัชนีอยู่ที่ 750.28 จุด ในคำพิพากษาก็ไม่ได้มีคำวินิจฉัยการขึ้นลงของราคาหุ้นดังกล่าว
การปล่อยเงินกู้ประเทศพม่ายังมีอีกประเด็นที่ศาลฎีกาฯ ไม่ได้วินิจฉัยว่า การนำเงิน 300 ล้านบาทเศษมาซื้อสินค้า บ.ไทยคม ครั้งเดียว ทำให้ร่ำรวยผิดปกติมาโดยไม่สมควรอย่างไร และการอนุมัติเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ไม่ได้เกี่ยวข้องและไม่ได้นำเงินมาซื้อสินค้า บ.ไทยคม ทั้งหมด แต่การพิจารณาอนุมัติปล่อยกู้มาจากเหตุผลอื่น
กฎหมายกำหนดให้ผู้ต้องคำพิพากษาสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 28 มี.ค.
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. นายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ นายสมพร พงษ์สุวรรณ ทนาย ความคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา และนายกิตติพร อรุณรัตน์ ทนายความนายพานทองแท้ และ น.ส.พิน ทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว เข้ายื่นคำอุทธรณ์คดีที่ศาลฎีกาฯ
อุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ มีความยาว 246 หน้า คุณหญิงพจมาน 60 หน้า นายพานทองแท้ 35 หน้า และน.ส.พินทองทา 35 หน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ 49 หน้า นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน 29 หน้า
เนื้อหาคำอุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว ขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์ของทั้งหมดไว้พิจารณา และให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามีคำสั่ง หรือพิพากษาให้ยกคำร้องของอัยการสูงสุดผู้ร้องในคดีนี้
และมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่พิพากษาให้เงินจากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเงินปันผลจำนวน 46,373,687,454.70 บาท รวมทั้งมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมดทุกบัญชี
นอกจากนี้ ทั้งหมดยื่นคำขอทุเลาการบังคับคดีไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ส่งเงินในบัญชีเงินฝากที่มีชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมด ให้ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา
อุทธรณ์ที่พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวทั้งหมด ยื่นต่อศาลฎีกาฯ สรุปประเด็นได้ ดังนี้
พยานหลักฐานใหม่ที่ใช้ในการยื่นอุทธรณ์ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ม.278 ประกอบด้วย
1. หนังสือของการไปรษณีย์และการสื่อสารของประเทศพม่า ยืนยันว่านโยบายการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเอ็กซ์ ซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท. ทักษิณ และการเอื้อประโยชน์ตามที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย
2. หนังสือของบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ยืนยันว่า ตามสัญญาสัมปทานให้สิทธิกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ใช้สัญญาณความถี่ซีแบนด์ ทั้งหมดเพียงหนึ่งช่องทางจากดาวเทียมทุกดวง ไม่ใช่ดวงละหนึ่งช่องตามที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย ดังนั้น แม้ดาวเทียมไอพีสตาร์ไม่มีซีแบนด์ ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาสัมปทาน
3. กฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากล กติการะหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าการที่ศาลฎีกาฯ ยอมรับประกาศคณะกรรมการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มาใช้บังคับ และให้มีผลเหนือกว่ารัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติที่ออกโดยกระบวนการนิติบัญญัติ เป็นการผิดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
4. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยประเด็นการ ออกพ.ร.ก.สรรพสามิต แสดงให้เห็นว่าศาลฎีกาฯ ต้องผูกพัน จะพิพากษาขัดแย้งไม่ได้
5. บทความและบทวิเคราะห์ทางวิชาการที่มีความเห็นแตกต่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาฯ เช่น บทวิเคราะห์ของนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่ามาตรการทั้ง 5 ข้อ ตามข้อกล่าวหาของอัยการสูงสุด รัฐไม่ได้เสียหาย
ประเด็นข้างต้น พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะนำพยานหลายปากที่เกี่ยวข้องเข้าไต่สวน แต่ศาลฎีกาฯ ไม่อนุญาต จึงถือว่าเป็นพยานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาวินิจฉัยจากศาลฎีกามาก่อน จึงเข้าเงื่อนไขเป็นพยานหลักฐานใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ม.278
อุทธรณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ยังอ้างว่าพยานหลักฐานใหม่อีกส่วนหนึ่งซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว อ้างว่าศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ครบถ้วน คือคำเบิกความของพยานที่มีจำนวนหลายสิบปาก เช่น คำเบิกความของนายทะเบียนหลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ ปลัดกระทรวงและอธิบดี คณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวอ้างว่า ศาลฎีกาฯ ไม่ได้หยิบยกคำเบิกความของพยานเหล่านั้น ซึ่งเบิกความสอดคล้องกันมาวินิจฉัยและไม่ได้วินิจฉัยให้เหตุผลว่าพยานเหล่านั้นไม่ควรเชื่อถือ หรือเบิกความไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริงอย่างไร
และพยานเอกสารจำนวนมากที่พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวนำเสนอต่อศาลในชั้นไต่สวนที่แสดงที่มาที่ไปในประเด็นต่างๆ สามารถหักล้างข้อกล่าวหาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และอัยการได้ ศาลฎีกาฯ ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยในคำพิพากษา
เช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการตราพ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต และมติคณะรัฐมนตรีให้นำภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากส่วนแบ่งรายได้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องผูกพันศาลฎีกาฯ แต่ในคำ พิพากษากลับวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างอื่นที่ขัดแย้งกับศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีใบหุ้น ทะเบียนหุ้น เอกสารแสดงการชำระหนี้ผ่านธนาคาร บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และเอกสารการจ่ายเงินปันผล
เอกสารต่างๆ ยืนยันการเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์หุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่กฎหมายมีบทบัญญัติให้สันนิษ ฐานว่าผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่ได้ระบุในเอกสาร จึงแสดงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน โอนขายหุ้นทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ปี 2543 ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่ศาลฎีกาฯ กลับไม่ได้วินิจฉัยให้ครบถ้วน เพียงแต่นำเอาเอกสารเรื่องการแจ้งการได้มา และจำหน่ายหลักทรัพย์มาวินิจฉัยว่าไม่ใช่เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้น แต่กลับนำพฤติการณ์อื่นมาวินิจฉัยประกอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้น
ขณะที่คำพิพากษายังมีบางประเด็นที่คลาดเคลื่อนกับข้อเท็จจริง เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินค่าหุ้นที่นายบรรณพจน์ออกให้คุณหญิงพจมานหายไป แล้วนายบรรณพจน์ออกให้ใหม่ แต่มีการแก้ไขคำนำหน้าจาก "นาง" เป็น "คุณหญิง" ก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ
ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยเพียงว่าเป็นพิรุธ เพราะตั๋วสัญญาฉบับอื่นไม่ได้หายไปด้วย แต่ก็ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าตั๋วสัญญาที่เป็นพิรุธนั้นมีการชำระหนี้ครบถ้วนผ่านสถาบันการเงินจนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ก่อนจะถูกตั้งข้อกล่าวหา
และยังมีการแสดงตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ในรายการบัญชีทรัพย์สินและได้ยื่นต่อ ป.ป.ช.ตั้งแต่ปี 2544 แล้ว จึงเป็นการทำตั๋วย้อนหลังไม่ได้ การดูเพียงเรื่องคำนำหน้าโดยไม่ดูเรื่องสาระสำคัญอื่นจึงเท่ากับศาลฎีกาฯ ยังไม่ได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญในคดี อีกทั้งการชำระหนี้โดยออกตั๋วสัญญาเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองให้ปฏิบัติได้ แต่เหตุใดจึงกลายเป็นความไม่ถูกต้อง ซึ่งคำพิพากษาไม่ได้ให้เหตุผลไว้
เช่นเดียวกับประเด็นการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปฯ ให้กับบุตรและคนในครอบครัวต่ำกว่าราคาตลาด ราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเป็นพาร์หรือราคาทุน กลับถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าไม่มีการซื้อขายหุ้นกันจริง ทั้งที่การยกทรัพย์สินให้กับบุตรสามารถทำได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทน แต่ศาลฎีกาฯ กลับเห็นว่าเป็นการโอนหุ้นให้กับบุตรชาย บุตรสาว และคนในครอบครัวถือหุ้นแทนพ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนประเด็นราคาหุ้น บ.ชินคอร์ป ในตลาดหลักทรัพย์ขึ้นลงตามปกติสอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์มาโดยตลอด โดยก่อนพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ หุ้นชินคอร์ป มีมูลค่ารวม 30,000 ล้านบาทเศษ ดัชนีอยู่ที่ 327.51 จุด ในขณะช่วงเวลาที่ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ มีราคาอยู่ 70,000 ล้านบาท ดัชนีอยู่ที่ 750.28 จุด ในคำพิพากษาก็ไม่ได้มีคำวินิจฉัยการขึ้นลงของราคาหุ้นดังกล่าว
การปล่อยเงินกู้ประเทศพม่ายังมีอีกประเด็นที่ศาลฎีกาฯ ไม่ได้วินิจฉัยว่า การนำเงิน 300 ล้านบาทเศษมาซื้อสินค้า บ.ไทยคม ครั้งเดียว ทำให้ร่ำรวยผิดปกติมาโดยไม่สมควรอย่างไร และการอนุมัติเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ไม่ได้เกี่ยวข้องและไม่ได้นำเงินมาซื้อสินค้า บ.ไทยคม ทั้งหมด แต่การพิจารณาอนุมัติปล่อยกู้มาจากเหตุผลอื่น