โดย แมวอ้วนอ้วน
เนื่องจากการชุมนุมใหญ่คนมาเป็นจำนวนมาก มาเป็นล้านคน
เพื่อให้การชุมนุมมีความพร้อม มีความสนุก ไม่เจ็บป่วยล้มไข้
การดูแลตนเอง และกลุ่มของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ทาง RSR ร่วมกับ FARED จึงได้จัดทำข้อมูลการเตรียมตัวสำหรับผู้ชุมนุม
ฝากให้แกนนำแต่ละกลุ่มที่นำมวลชน มาร่วมชุมนุม ช่วยกระจายข้อมูลนี้ออกไปด้วย
1. ถ้ามียาประจำตัวให้นำไปด้วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน , ความดัน , หัวใจ ,หอบหืด ซึ่งต้องเป็นยาเฉพาะของแต่ละคน
2. สวมใส่เสื้อผ้าที่กระชับ (ไม่ใช่รัดติ้วนะครับ)
รองเท้าควรเป็นผ้าใบ ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ หรือ รองเท้าคัทชู หรือ ส้นสูง
กางเกงควรเป็นขายาว
เสื้อก็ควรเป็นแขนยาว หรือหากมีปลอกแขนกันแดดก็ใช้ได้ เพื่อป้องกันแก๊สน้ำตา ไม่ให้สัมผัสผิวหนังได้โดยตรง
ควรสวมหมวก เพื่อกันแดด ฝน ความร้อน
3. เตรียมเสื้อสะอาด 1 ตัว ใส่ถุงพลาสติก และปิดให้แน่นหนา 2 ชั้นได้ยิ่งดี เพื่อประโยชน์ในการเดินทางกลับบ้าน ทีีสำคัญคือ เอาไว้เปลี่ยนเมือโดนแก๊สน้ำตา และนำเสื้อผ้าที่โดนแก๊ส ใส่ในถุงแทน รัดแน่นหนา เพื่อนำกลับไปซักต่อไป ( ก่อนซัก ให้ผึ่งเสื่้อผ้าที่โดนแก๊สไว้ ประมาณ 1-2 วัน )
4. ทุกคนควรมีกระเป๋าเป้สะพายหลัง หรือแบบอื่นที่ไม่ต้องใช้มือของเราถือ ในกระเป๋าควรมี เสื้อผ้าตามข้อ 3 ,
ขวดน้ำดื่มสะอาดต้องมีติดตัวตลอด เพื่อใช้ดื่ม และล้างหน้าตาหากโดนแก๊ส
ผ้าขนหนู หรือผ้าขาวม้า(สารพัดประโยชน์) เพื่อชุบน้าเย็นลดความร้อน คลุมหัวกันความร้อน กันแก๊ส
อาหารให้พลังงานที่เรียกว่า Energy Bar
หรือ ลูกกวาด ติดไว้ตลอดเช่นกัน เพื่อเวลาที่ถูกปิดล้อม ส่งเสบียงเข้าที่ชุมนุม ไม่ได้ ไม่มีอาหาร
หน้ากากอนามัย ไว้กันแก๊สได้ระดับหนึ่ง , แว่นตากันน้ำ ดำน้ำ หรือที่ใส่ว่ายน้ำ เพื่อกันแก๊สน้ำตา ควรเป็นพลาสติกชนิดดี หากเป็นแบบถูก ๆ อาจเป็นอันตรายต่อตา เมื่อโดนกระสุนยางในระยะอันตราย หรือโดนกระสุนจากหนังสติ๊ก หัวน๊อต ฯลฯ
5. สำหรับผู้หญิง ควรมีผ้าอนามัย ชนิดแผ่น ติดกระเป๋าเอาไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และหากมีผู้บาดเจ็บใกล้ตัวเรา ในกรณีแผลฉกรร ใช้โปะ ห้ามเลือดระหว่างติดต่อ หน่วนพยาบาล หรือนำส่ง รพ.
ข้อควรจำสำหรับ ผู้หญิง คือ หากมีรอบเดือน อย่าใช้ผ้่าอนามัยแบบสอด เพราะหากถูกปิดล้อม หรือถูกจับกุม หาโอกาสเปลี่ยนไม่ได้ จะเป็นอันตราย เพราะหากใช้แบบสอด นานเกินกว่า 5 ชั่วโมง ร่างกายจะติดเชื้อจากผ้าอนามัย
หากใช้โลชั่นกันแดด หรือโลชั่นใด ๆ ที่มีส่วนผสมของออยล์ จะเป็นตัวกักเก็บแก๊สให้ติดอยู่กับผิวหนังได้มากขึ้น นานขึ้น ควรใช้โลชั่นกันแดด ชนิดที่มีส่วนผลมของ แอลกอฮอล์ ดีกว่า
6. ผู้ที่สวมคอนแทคเลนซ์ ควรถอดออก หากมีการสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา เพราะตัวเลนซ์ จะดูดเก็บแก๊สไว้ที่ตาได้อย่างดี
7. ผู้ที่ป่วย เป็นโรค หอบหืด และถุงลมโป่งพอง ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแก๊ส โดยทันที เพราะจะเป้นอันตรายมาก หากโดนมาก ๆ อาจถึงแก่ชีวิตได้
8. ผู้สูงอายุ เด็ก หรือผุ้ที่มีโรคประจำตัว ควรมีข้อความสั้น ๆ บอก ชื่อ นามสกุล ตัวเองโรคที่เป็น กรุ๊บเลือด เบอร์โทร.ญาติ สถาน พยาบาลที่รักษาประจำ กับแพทย์คนใดอยู่ ใส่ซองพลาดติกกันน้ำ ห้อยคอไว้ตลอด เพื่อประโยชน์ หากท่านหมดสติ หรือไม่สามารถ สื่อสารด้วยคำพูดได้ ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง
9. หากจัดหาได้ไม่ยุ่งยาก ควรมีหมวกกันกระแทก หรือหมวกกันน๊อค ไว้ใส่ในกรณีเหตุชุลมุน หรือถูกสลายการขุมนุม เพื่อกันหัวน๊อต กระสุนยางระยะอันตราย
10. ผู้นำกลุ่ม หรือแกนนำ กลุ่มต่าง ๆ ควรจัดหา ยารักษาโรคที่จำเป็น เช่น พารา , ยาดม ยาหม่อง ยาธาตุ และเวชภันณ์ทำแผลเบื้องต้นเช่น ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล โพรวิดีนแบบขวดเล็ก ๆ ผ้าพันแผล ทั้งแบบทำแผล และแบบ elastic สำลี เพื่อให้การช่วยเหลือภายในกลุ่มของตัวเอง ในระดับหนึ่ง เพราะหน่วย RSR และ FARED อาจจะมีไม่เพียงพอ เพราะผู้ชุมนุมมีจำนวนมาก
เพื่อให้การชุมนุมมีความพร้อม มีความสนุก ไม่เจ็บป่วยล้มไข้
การดูแลตนเอง และกลุ่มของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ทาง RSR ร่วมกับ FARED จึงได้จัดทำข้อมูลการเตรียมตัวสำหรับผู้ชุมนุม
ฝากให้แกนนำแต่ละกลุ่มที่นำมวลชน มาร่วมชุมนุม ช่วยกระจายข้อมูลนี้ออกไปด้วย
1. ถ้ามียาประจำตัวให้นำไปด้วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน , ความดัน , หัวใจ ,หอบหืด ซึ่งต้องเป็นยาเฉพาะของแต่ละคน
2. สวมใส่เสื้อผ้าที่กระชับ (ไม่ใช่รัดติ้วนะครับ)
รองเท้าควรเป็นผ้าใบ ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ หรือ รองเท้าคัทชู หรือ ส้นสูง
กางเกงควรเป็นขายาว
เสื้อก็ควรเป็นแขนยาว หรือหากมีปลอกแขนกันแดดก็ใช้ได้ เพื่อป้องกันแก๊สน้ำตา ไม่ให้สัมผัสผิวหนังได้โดยตรง
ควรสวมหมวก เพื่อกันแดด ฝน ความร้อน
3. เตรียมเสื้อสะอาด 1 ตัว ใส่ถุงพลาสติก และปิดให้แน่นหนา 2 ชั้นได้ยิ่งดี เพื่อประโยชน์ในการเดินทางกลับบ้าน ทีีสำคัญคือ เอาไว้เปลี่ยนเมือโดนแก๊สน้ำตา และนำเสื้อผ้าที่โดนแก๊ส ใส่ในถุงแทน รัดแน่นหนา เพื่อนำกลับไปซักต่อไป ( ก่อนซัก ให้ผึ่งเสื่้อผ้าที่โดนแก๊สไว้ ประมาณ 1-2 วัน )
4. ทุกคนควรมีกระเป๋าเป้สะพายหลัง หรือแบบอื่นที่ไม่ต้องใช้มือของเราถือ ในกระเป๋าควรมี เสื้อผ้าตามข้อ 3 ,
ขวดน้ำดื่มสะอาดต้องมีติดตัวตลอด เพื่อใช้ดื่ม และล้างหน้าตาหากโดนแก๊ส
ผ้าขนหนู หรือผ้าขาวม้า(สารพัดประโยชน์) เพื่อชุบน้าเย็นลดความร้อน คลุมหัวกันความร้อน กันแก๊ส
อาหารให้พลังงานที่เรียกว่า Energy Bar
หรือ ลูกกวาด ติดไว้ตลอดเช่นกัน เพื่อเวลาที่ถูกปิดล้อม ส่งเสบียงเข้าที่ชุมนุม ไม่ได้ ไม่มีอาหาร
หน้ากากอนามัย ไว้กันแก๊สได้ระดับหนึ่ง , แว่นตากันน้ำ ดำน้ำ หรือที่ใส่ว่ายน้ำ เพื่อกันแก๊สน้ำตา ควรเป็นพลาสติกชนิดดี หากเป็นแบบถูก ๆ อาจเป็นอันตรายต่อตา เมื่อโดนกระสุนยางในระยะอันตราย หรือโดนกระสุนจากหนังสติ๊ก หัวน๊อต ฯลฯ
5. สำหรับผู้หญิง ควรมีผ้าอนามัย ชนิดแผ่น ติดกระเป๋าเอาไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และหากมีผู้บาดเจ็บใกล้ตัวเรา ในกรณีแผลฉกรร ใช้โปะ ห้ามเลือดระหว่างติดต่อ หน่วนพยาบาล หรือนำส่ง รพ.
ข้อควรจำสำหรับ ผู้หญิง คือ หากมีรอบเดือน อย่าใช้ผ้่าอนามัยแบบสอด เพราะหากถูกปิดล้อม หรือถูกจับกุม หาโอกาสเปลี่ยนไม่ได้ จะเป็นอันตราย เพราะหากใช้แบบสอด นานเกินกว่า 5 ชั่วโมง ร่างกายจะติดเชื้อจากผ้าอนามัย
หากใช้โลชั่นกันแดด หรือโลชั่นใด ๆ ที่มีส่วนผสมของออยล์ จะเป็นตัวกักเก็บแก๊สให้ติดอยู่กับผิวหนังได้มากขึ้น นานขึ้น ควรใช้โลชั่นกันแดด ชนิดที่มีส่วนผลมของ แอลกอฮอล์ ดีกว่า
6. ผู้ที่สวมคอนแทคเลนซ์ ควรถอดออก หากมีการสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา เพราะตัวเลนซ์ จะดูดเก็บแก๊สไว้ที่ตาได้อย่างดี
7. ผู้ที่ป่วย เป็นโรค หอบหืด และถุงลมโป่งพอง ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแก๊ส โดยทันที เพราะจะเป้นอันตรายมาก หากโดนมาก ๆ อาจถึงแก่ชีวิตได้
8. ผู้สูงอายุ เด็ก หรือผุ้ที่มีโรคประจำตัว ควรมีข้อความสั้น ๆ บอก ชื่อ นามสกุล ตัวเองโรคที่เป็น กรุ๊บเลือด เบอร์โทร.ญาติ สถาน พยาบาลที่รักษาประจำ กับแพทย์คนใดอยู่ ใส่ซองพลาดติกกันน้ำ ห้อยคอไว้ตลอด เพื่อประโยชน์ หากท่านหมดสติ หรือไม่สามารถ สื่อสารด้วยคำพูดได้ ในกรณีบาดเจ็บรุนแรง
9. หากจัดหาได้ไม่ยุ่งยาก ควรมีหมวกกันกระแทก หรือหมวกกันน๊อค ไว้ใส่ในกรณีเหตุชุลมุน หรือถูกสลายการขุมนุม เพื่อกันหัวน๊อต กระสุนยางระยะอันตราย
10. ผู้นำกลุ่ม หรือแกนนำ กลุ่มต่าง ๆ ควรจัดหา ยารักษาโรคที่จำเป็น เช่น พารา , ยาดม ยาหม่อง ยาธาตุ และเวชภันณ์ทำแผลเบื้องต้นเช่น ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล โพรวิดีนแบบขวดเล็ก ๆ ผ้าพันแผล ทั้งแบบทำแผล และแบบ elastic สำลี เพื่อให้การช่วยเหลือภายในกลุ่มของตัวเอง ในระดับหนึ่ง เพราะหน่วย RSR และ FARED อาจจะมีไม่เพียงพอ เพราะผู้ชุมนุมมีจำนวนมาก
วิธีการรับมือ และข้อปฏิบัติกรณี จนท.ใช้อาวุธพิเศษ( Non-Leathal Weapon )
1. แก๊สน้ำตา หาก จนท.ใช้แก๊สน้ำตายิง หรือขว้างมา ให้รีบใช้ผ้าห่มหนา ๆ ตัดสี่เหลี่ยมจตุรัีส ด้านละ ประมาณ 1 เมตร ชุบน้ำให้โชก คลุมกระป๋องแก๊สทันที ( ใครฮาร์ดคอร์ และสวมรองเท้าหนา ๆ จะเตะกระป๋องแก๊สกลับไปหาคนยิง ก็ไม่ว่ากัน เพราะ เสื้อแดงได้รับเกียรติให้ใช้แก๊สจาก USA รับประกันไม่มีขาขาด ) แก๊สจะอยู่กับเรานาน 30 นาที ถึงหลายชั่วโมงแล้วแต่ชนิด
เมื่อโดนแก๊ส ให้รีบหลบเลี่ยงออกจากกลุ่มแก๊ส พยายามกลั้นหายใจให้ได้นานที่สุด อย่าสูดแก๊สเข้าไป และอยุ่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก หากเป็นที่ตา ใช้น้ำเกลือ Normal Saline หรือน้ำดื่มสะอาด ๆ รดจากหัวตาแต่ละข้าง ออกไปทางหางตา นานประมาณ ข้างละ 10 นาที เพื่อให้น้ำชะล้างแก๊สออกได้ในระดับปลอดภัย ข้อควรระวังคือ อย่าฉีดน้ำเข้าตาใกล้เกินไป แรงเกินไป เพราะจะทำลายเยื่อบุตาได้
ใช้พัดลม หรือลม หรือดูทิศทางลมให้ดี ให้ลมเป่าที่ตา หรือตามร่างกาย ไล่แก๊สก็สามารถทำได้ แล้วรีบหาหน่วยพยาบาลให้เร็วทีี่สุด ( ในกรณีนี้ หน่วยพยาบาลคงเดินเพ่นพ่านให้เห็นกันบ้าง RSR พร้อมรับมือสถานการณ์เช่นนี้ในแนวปะทะอยู่แล้ว ) เพื่อใ้ห้การดูแลอย่างถูกวิธีต่อไป
หากโดนแก๊สตามผิวหนัง ให้รีบใช้น้ำสะอาด หรือน้ำสบู่ ล้างออกโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ อย่าเกา หรือขยี้ตาเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แก๊สขยายวงกว้างออกไปและยิ่งซืมเข้าผิวหนังได้มากขึ้น การสระผมก็อาจทำให้แสบหนังศรีษะได้
ถ้าอยู่ในวิถีของ แก๊สที่ยิงมา ให้วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศยิง จะพ้นระยะแก๊สได้ ไม่ควรวิ่งออกด้านข้าง เพราะอาจยังไม่พ้นระแก๊ส
ในเวลานั้นทัศนวิสัยจะพร่ามัว ระวัง อย่าวิ่งเข้าหา จนท. ทำใจให้สงบ อย่าตกใจ มองรอบ ๆ ตัวก่อนแล้ววิ่งเข้าหาที่ปลอดภัย
2. กระสุนยาง ระยะอันตรายคือ 10-12 เมตร ให้รักษาระยะหากเห็นว่าจะมีการ ใช้กระสุนยาง สังเกตว่าปืนที่ จนท.ถ้าเป็น ตร.ไทย จะใช้ ปืนลูกซองยาว หรือปืินเล็กยาว โดยปกติ จนท.จะไม่ยิงเข้าจุดสำคัญ ( แต่รัฐบาลนี้ ไม่เคยมีมาตรฐานใด ๆ อยุ่แล้ว โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ดังนั้น อย่าไปหวังผลเลิศ ว่า จนท.โดยเฉพาะ ทหาร ) ดังนั้นควรสวมหมวกกันกระแทก และแว่นตาี่ที่เป็นพลาสติกอย่างดี ไม่ใช่พลาสติกแข็งบาง เพราะถ้ายิงโดนตา พลาสติกจะแตกและทำอันตรายดวงตาเราได้ อาจถึงตาบอด
หากโดนยิงเข้าที่ท้องในระยะอันตราย คนโดนจะถ่ายเป็นเลือดนานหลายวัน เพราะอวัยวะภายในถูกกระแทกจากกระสุนยาง
หากโดนยิงที่ศรีษะ ในระยะอันตราย อาจถึงเลือดคั่งในสมองได้ ( ไม่ต้องพูดถึงหากโดนน้องชายในกางเกง )
3. เครื่องยิงแหบุคคล ปกติใช้จับคนบ้า อาละวาด ลักษณะ เครื่องยิงจะเล้ายกระบอกไฟฉาย ขนาดใหญ่ เมื่อยิงออกมาให้ระวังส่วนที่เป็น ตัวถ่วงตาข่าย จะฟาดโดนศรีษะ เมื่อเราโดน หรือคนข้าง ๆ โดน คนทีีโดน อย่าตกใจ และอย่าดิ้น เพราะยิ่งดิ้นยิ่งแน่น ให้ตั้งสติ ใช้กรรไกร หรือหากมีใฟแช๊คก็ได้ ค่อย ๆ ตัดตาข่ายออก แล้วหลบหนีออกมา หรือหากเป็นไปได้ ก็อุ้มคนที่โดน หลบหนีออกมาก่อน
ระยะหวังผลของเครื่องนี้ก็ประมาณ 5-6 เมตร แต่จะให้ปลอดภัยทีี่สุด อย่าเข้าใกล้ จนท. เกิน 10 เมตร ปลอดภัยสุด
4. LRAD เครื่องส่งเสียงดังรบกวนระไกล ส่งเสียงเริ่มต้นที่ประมาณ 90 เดซิเบล จนถึง 146 เดซิเบล ส่งเสียงได้ไกลประมาณ 300 เมตร คือระยะหวังผล หากอยู่ใกล้ ต่ำกว่า 7 เมตร ถือว่าอันตรายมาก เพราะได้ยินและทนยืนอยุ่กับที่นาน หูจะดับถาวรได้ แต่ทุกคนที่ไม่ได้ป้องกัน อาจจะหูดับชั่วคราว
ใช้ที่หูฟังกันเสียงสำหรับใส่ยิงปืน หรือโฟมอุดหูสำหรับยิงปืน ช่วยกรองเสียงได้ระดับหนึ่ง แล้วต้องรีบวิ่งออกจากบริเวณนั้น ๆ ทันที
ข้อเสียของเครื่องนี้ คือ ถ้าใช้ในเมือง เมื่อโดนผนังตึก อาจสะท้อนกลับหาคนยิงได้
ลักษณะ เครื่อง LRAD ที่ หน่วย คฝ.ของไทยใช้ จะเป็นจาน รูป สี่เหลี่ยมมน ขนาดเล็กกว่าจานดาวเทียม ( จานแดง ทรู ) นิดหน่อย เป็นสีไข่ไก่ผสมเทา ติดบนรถกระบะ หรือรถ ขนผู้ต้องหา
1. แก๊สน้ำตา หาก จนท.ใช้แก๊สน้ำตายิง หรือขว้างมา ให้รีบใช้ผ้าห่มหนา ๆ ตัดสี่เหลี่ยมจตุรัีส ด้านละ ประมาณ 1 เมตร ชุบน้ำให้โชก คลุมกระป๋องแก๊สทันที ( ใครฮาร์ดคอร์ และสวมรองเท้าหนา ๆ จะเตะกระป๋องแก๊สกลับไปหาคนยิง ก็ไม่ว่ากัน เพราะ เสื้อแดงได้รับเกียรติให้ใช้แก๊สจาก USA รับประกันไม่มีขาขาด ) แก๊สจะอยู่กับเรานาน 30 นาที ถึงหลายชั่วโมงแล้วแต่ชนิด
เมื่อโดนแก๊ส ให้รีบหลบเลี่ยงออกจากกลุ่มแก๊ส พยายามกลั้นหายใจให้ได้นานที่สุด อย่าสูดแก๊สเข้าไป และอยุ่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก หากเป็นที่ตา ใช้น้ำเกลือ Normal Saline หรือน้ำดื่มสะอาด ๆ รดจากหัวตาแต่ละข้าง ออกไปทางหางตา นานประมาณ ข้างละ 10 นาที เพื่อให้น้ำชะล้างแก๊สออกได้ในระดับปลอดภัย ข้อควรระวังคือ อย่าฉีดน้ำเข้าตาใกล้เกินไป แรงเกินไป เพราะจะทำลายเยื่อบุตาได้
ใช้พัดลม หรือลม หรือดูทิศทางลมให้ดี ให้ลมเป่าที่ตา หรือตามร่างกาย ไล่แก๊สก็สามารถทำได้ แล้วรีบหาหน่วยพยาบาลให้เร็วทีี่สุด ( ในกรณีนี้ หน่วยพยาบาลคงเดินเพ่นพ่านให้เห็นกันบ้าง RSR พร้อมรับมือสถานการณ์เช่นนี้ในแนวปะทะอยู่แล้ว ) เพื่อใ้ห้การดูแลอย่างถูกวิธีต่อไป
หากโดนแก๊สตามผิวหนัง ให้รีบใช้น้ำสะอาด หรือน้ำสบู่ ล้างออกโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ อย่าเกา หรือขยี้ตาเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แก๊สขยายวงกว้างออกไปและยิ่งซืมเข้าผิวหนังได้มากขึ้น การสระผมก็อาจทำให้แสบหนังศรีษะได้
ถ้าอยู่ในวิถีของ แก๊สที่ยิงมา ให้วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศยิง จะพ้นระยะแก๊สได้ ไม่ควรวิ่งออกด้านข้าง เพราะอาจยังไม่พ้นระแก๊ส
ในเวลานั้นทัศนวิสัยจะพร่ามัว ระวัง อย่าวิ่งเข้าหา จนท. ทำใจให้สงบ อย่าตกใจ มองรอบ ๆ ตัวก่อนแล้ววิ่งเข้าหาที่ปลอดภัย
2. กระสุนยาง ระยะอันตรายคือ 10-12 เมตร ให้รักษาระยะหากเห็นว่าจะมีการ ใช้กระสุนยาง สังเกตว่าปืนที่ จนท.ถ้าเป็น ตร.ไทย จะใช้ ปืนลูกซองยาว หรือปืินเล็กยาว โดยปกติ จนท.จะไม่ยิงเข้าจุดสำคัญ ( แต่รัฐบาลนี้ ไม่เคยมีมาตรฐานใด ๆ อยุ่แล้ว โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ดังนั้น อย่าไปหวังผลเลิศ ว่า จนท.โดยเฉพาะ ทหาร ) ดังนั้นควรสวมหมวกกันกระแทก และแว่นตาี่ที่เป็นพลาสติกอย่างดี ไม่ใช่พลาสติกแข็งบาง เพราะถ้ายิงโดนตา พลาสติกจะแตกและทำอันตรายดวงตาเราได้ อาจถึงตาบอด
หากโดนยิงเข้าที่ท้องในระยะอันตราย คนโดนจะถ่ายเป็นเลือดนานหลายวัน เพราะอวัยวะภายในถูกกระแทกจากกระสุนยาง
หากโดนยิงที่ศรีษะ ในระยะอันตราย อาจถึงเลือดคั่งในสมองได้ ( ไม่ต้องพูดถึงหากโดนน้องชายในกางเกง )
3. เครื่องยิงแหบุคคล ปกติใช้จับคนบ้า อาละวาด ลักษณะ เครื่องยิงจะเล้ายกระบอกไฟฉาย ขนาดใหญ่ เมื่อยิงออกมาให้ระวังส่วนที่เป็น ตัวถ่วงตาข่าย จะฟาดโดนศรีษะ เมื่อเราโดน หรือคนข้าง ๆ โดน คนทีีโดน อย่าตกใจ และอย่าดิ้น เพราะยิ่งดิ้นยิ่งแน่น ให้ตั้งสติ ใช้กรรไกร หรือหากมีใฟแช๊คก็ได้ ค่อย ๆ ตัดตาข่ายออก แล้วหลบหนีออกมา หรือหากเป็นไปได้ ก็อุ้มคนที่โดน หลบหนีออกมาก่อน
ระยะหวังผลของเครื่องนี้ก็ประมาณ 5-6 เมตร แต่จะให้ปลอดภัยทีี่สุด อย่าเข้าใกล้ จนท. เกิน 10 เมตร ปลอดภัยสุด
4. LRAD เครื่องส่งเสียงดังรบกวนระไกล ส่งเสียงเริ่มต้นที่ประมาณ 90 เดซิเบล จนถึง 146 เดซิเบล ส่งเสียงได้ไกลประมาณ 300 เมตร คือระยะหวังผล หากอยู่ใกล้ ต่ำกว่า 7 เมตร ถือว่าอันตรายมาก เพราะได้ยินและทนยืนอยุ่กับที่นาน หูจะดับถาวรได้ แต่ทุกคนที่ไม่ได้ป้องกัน อาจจะหูดับชั่วคราว
ใช้ที่หูฟังกันเสียงสำหรับใส่ยิงปืน หรือโฟมอุดหูสำหรับยิงปืน ช่วยกรองเสียงได้ระดับหนึ่ง แล้วต้องรีบวิ่งออกจากบริเวณนั้น ๆ ทันที
ข้อเสียของเครื่องนี้ คือ ถ้าใช้ในเมือง เมื่อโดนผนังตึก อาจสะท้อนกลับหาคนยิงได้
ลักษณะ เครื่อง LRAD ที่ หน่วย คฝ.ของไทยใช้ จะเป็นจาน รูป สี่เหลี่ยมมน ขนาดเล็กกว่าจานดาวเทียม ( จานแดง ทรู ) นิดหน่อย เป็นสีไข่ไก่ผสมเทา ติดบนรถกระบะ หรือรถ ขนผู้ต้องหา