สื่ออำมาตย์ต้องการหล่อหลอมให้เยาวชนดูถูกเหยียดหยามผู้เเทนประชาชน... “ระบอบรัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นกรณีตัวอย่างรวบยอดที่แสดงถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงในการใช้ประโยชน์จากระบอบรัฐสภาโดยเผด็จการอำมาตยาธิปไตย สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ รัฐสภาที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดเล็กที่อ่อนแอ ให้มีรัฐบาลหุ่นเชิดไร้อำนาจที่แท้จริงในการบริหารแผ่นดิน แต่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจแฝงเร้นของเผด็จการอำมาตยาธิปไตย เป็นรัฐบาลที่ไร้ความสามารถและไม่อาจแก้ปัญหาของประชาชนได้ เต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งชั่วร้าย นักการเมืองคือต้นเหตุแห่งปัญหาและความเลวร้ายทั้งปวง ประชาชนไม่อาจหวังพึ่งตนเองด้วยการใช้สิทธิทางประชาธิปไตยไปเลือกนักการเมืองที่มีความสามารถเข้ามาแก้ปัญหาของพวกเขา”
นั่นเป็นเพียงบางส่วนของบทความ "การปฏิวัติของประชาชนในประเทศไทย" ของรศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ที่ผมประทับใจเหลือเกิน เเต่หากจะวิเคราะห์ต่อมาถึงบทบาทของสื่อเเล้ว เวลาที่มีความพยายามในการผลักดันบางสิ่งบางอย่าง ที่สะท้อนถึงวิวัฒนาการทางการเมืองที่ก้าวหน้าอย่างเช่นการเเก้รัฐธรรมนูญ ไม่รู้ว่า บก. ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, เเนวหน้า, หรือ Manager เป็นอะไรนักหนา พยายามพาดหัวข่าวเพื่อ Discredit ความตั้งใจนั้นๆ จะเเก้รัฐธรรมนูญก็ดันไปเรียกว่าจะ 'ชำเรา' กฏหมายหลักของประเทศที่ตอนคมช. ยึดอำนาจไม่เห็น ไทยโพสต์ , เเนวหน้า, หรือ Manager ประณามพล.อ. สนธิ บุญยรัตกลินว่าข่มขื่นหรือกระทำชำเรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนตรงไหนเลย เคยร่างกันมาเเทบตาย เเถมออกมาเชียร์ด้วยซ้ำเวลาที่มีคณะปฏิวัติไปฉีกมันซะ มันน่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ที่กองบก. ของหน้าการเมืองที่ยังไม่สยบต่ออำนาจหรือเข้าไปอยู่ในเครือข่ายอำมาตยาธิปไตยนั้นกลับเป็นฉบับที่ถูกเเย่งซีนโดยฉบับที่สร้างความเเตกเเยกในสังคม เยาวชนควรจะอ่านหนังสือพิมพ์ Post Today ไทยรัฐหรือมติชนเพื่อข่าวสารทางการเมืองมากกว่าฉบับอื่นๆ ที่ผมตำหนิไปในข้างต้นเพราะอย่างน้อยก็ยังถือว่าเขายังเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง มิใช่ปลุกปั่นให้สังคมดูหมิ่นเหยียดหยามนักการเมืองอย่างสุดโต่ง ถึงเเม้ว่าสื่อมวลชนหลายสำนักก็ยังจะมีอคติต่อนักการเมืองส่วนใหญ่ก็ตาม
ถ้าดูในกรณีของ Manager ตั้งใจเล่นบทบาทอย่างชัดเจน ในการหล่อหลอมให้ผู้อ่านไม่ไว้วางใจในผู้เเทนที่เขาเลือกเข้าไปทำงาน ไม่ว่าหลังจากนี้การเมืองจะพัฒนาหรือไม่พัฒนาไปในทิศทางไหนมันเป็นบทบาทของ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ On-Print หรือ On-Line ในการกำหนดว่า เราทุกคนจะเทิดทูนองค์กรที่ไม่มีใครกล้าเเตะอย่าง ปปช., กกต., คตง., ศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง, ศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ หรือเทิดทูนองค์กรเเละสถาบันที่เป็นตัวเเทนของประชาชนเเละยึดติดกับความต้องการของทุกคน
ทั้งที่จริงๆ แล้วและสำคัญมากว่าองค์กรเหล่านี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ด้วยมือของประชาชนเอง บทบาทนี้เป็นบทบาทสำคัญเเละยิ่งใหญ่มาก กองบก.เเละผู้ที่เป็นเจ้าของสื่อส่วนใหญ่บางท่านอาจได้ตัดสินใจเลือกข้างไปเเล้วว่าจะสนับสนุนฝ่ายไหน การเลือกข้างนั้นสะท้อนถึงอุดมการณ์ของเเต่ละท่านเองเเละบุคลากรในสื่อนั้นๆ เอง ส่วนใครผิดใครถูกนั้น เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเล่มไหน เว็บไซต์ไหนหรือใครคนไหน เลือกเดินในเส้นทางที่ตอบสนองความต้องการของผู้อ่านจริงๆ เเละเล่มไหนหรือเว็บไซต์ไหนเลือกโจมตีนักการเมืองเเละพรรคการเมืองด้วยอคติส่วนตัวที่ได้รับการหล่อหลอมมา