คอลัมน์ เหล็กใน
การแต่งตั้งผบ.ตร.คนใหม่ยังเป็นปัญหาโลกแตกของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คิดไม่ออก แก้ไม่ตก หาทางออกไม่ได้
วนไปเวียนมาอยู่อย่างนั้น
คิดจะตั้งคนของตัวเองก็โดนเสียงส่วนใหญ่คัดค้าน คนที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกลับดันไม่อยากให้เป็นเสียอีก
ปล่อยคาราคาซังกว่า 4 เดือนแล้วที่ตำรวจยังไม่ มีผบ.ตร. ตัวจริงเสียที
ว่ากันตามจริงแล้ว ปล่อยให้ยืดเยื้อแบบนี้ไม่ดีแน่สำหรับ รัฐบาล
ทำให้มองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลง่อนแง่น รัฐบาลไม่มีเอกภาพ
แต่ที่สำคัญที่สุด ไม่เป็นผลดีต่อองค์กรตำรวจเลยแม้แต่น้อย
คงไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้วที่รัฐบาลปล่อยให้องค์กรใหญ่มีตำรวจกว่า 2 แสนนาย มีหน้าที่พิทักษ์ดูแลความสงบสุขของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ กลายเป็นองค์กรไม่มีหัว ไม่มีผู้นำ
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน นายกฯอภิสิทธิ์ เรียกประชุมก.ต.ช.มาแล้วหลายหน
ทุกครั้งจบลงแบบไม่เป็นท่า
ก.ต.ช.เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่นายกฯอภิสิทธิ์เสนอ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เป็นผบ.ตร.
ก.ต.ช.เรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย แคนดิเดตอีกคน แต่นายกฯก็ไม่สนใจ อ้างนายกฯมีอำนาจเสนอชื่อใครเป็นผบ.ตร.ก็ได้
ตรงนี้แหละที่ทำให้เป็นปัญหาโลกแตก
นายกฯมีอำนาจเสนอชื่อ แต่ก.ต.ช.ก็มีอำนาจที่จะไม่เห็นด้วย
ไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
ยิ่งการประชุมก.ต.ช.ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ ผ่านมา
ก่อนการประชุมวันสองวัน นายกฯพูดชัดเจนว่าไม่มีวาระการแต่งตั้งผบ.ตร.
แต่พอถึงเวลาประชุมกลับมีรายการมั่วนิ่มเกิดขึ้น!?
นายกฯอภิสิทธิ์ได้อภิปรายข้อมูลบางประการต่อที่ประชุม
จากนั้นนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็เสนอว่าควรจะพิจารณาแต่งตั้งผบ.ตร. ใหม่เป็นวาระพิเศษเลย
แต่ก.ต.ช.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากวาระแต่งตั้งผบ.ตร.เป็นเรื่องสำคัญ ต้องบรรจุวาระนี้ไว้ตั้งแต่ก่อนประชุม ไม่ใช่หยิบยกมาเป็นวาระเร่งด่วนเช่นนี้
สุดท้ายเมื่อประเมินแล้วว่าเสียงคัดค้านยังมีมากกว่าเยอะ นายกฯจึงให้ยุติเรื่องนี้ทันที
เรื่องนี้โดนวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า
การแต่งตั้งผบ.ตร.ต้องสง่างาม ไม่ควรใช้วิธีสอดไส้ หรือหักคอกันดื้อๆ
ที่จริงแล้วปัญหานี้ไม่ใช่ทางตัน
แค่นายกฯควรลดทิฐิ อย่าคิดเพียงแค่ว่าใครก็มาขวางไม่ได้ ยอมรับฟังคำแนะนำของผู้ใต้บังคับบัญชา และฟังเสียงส่วนใหญ่ให้มากกว่านี้
ก็จะเจอทางออกในที่สุด
ดีกว่ามั่วนิ่มแบบนี้
คิดไม่ออก แก้ไม่ตก หาทางออกไม่ได้
วนไปเวียนมาอยู่อย่างนั้น
คิดจะตั้งคนของตัวเองก็โดนเสียงส่วนใหญ่คัดค้าน คนที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกลับดันไม่อยากให้เป็นเสียอีก
ปล่อยคาราคาซังกว่า 4 เดือนแล้วที่ตำรวจยังไม่ มีผบ.ตร. ตัวจริงเสียที
ว่ากันตามจริงแล้ว ปล่อยให้ยืดเยื้อแบบนี้ไม่ดีแน่สำหรับ รัฐบาล
ทำให้มองว่าเสถียรภาพของรัฐบาลง่อนแง่น รัฐบาลไม่มีเอกภาพ
แต่ที่สำคัญที่สุด ไม่เป็นผลดีต่อองค์กรตำรวจเลยแม้แต่น้อย
คงไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้วที่รัฐบาลปล่อยให้องค์กรใหญ่มีตำรวจกว่า 2 แสนนาย มีหน้าที่พิทักษ์ดูแลความสงบสุขของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ กลายเป็นองค์กรไม่มีหัว ไม่มีผู้นำ
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน นายกฯอภิสิทธิ์ เรียกประชุมก.ต.ช.มาแล้วหลายหน
ทุกครั้งจบลงแบบไม่เป็นท่า
ก.ต.ช.เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่นายกฯอภิสิทธิ์เสนอ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เป็นผบ.ตร.
ก.ต.ช.เรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย แคนดิเดตอีกคน แต่นายกฯก็ไม่สนใจ อ้างนายกฯมีอำนาจเสนอชื่อใครเป็นผบ.ตร.ก็ได้
ตรงนี้แหละที่ทำให้เป็นปัญหาโลกแตก
นายกฯมีอำนาจเสนอชื่อ แต่ก.ต.ช.ก็มีอำนาจที่จะไม่เห็นด้วย
ไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
ยิ่งการประชุมก.ต.ช.ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ ผ่านมา
ก่อนการประชุมวันสองวัน นายกฯพูดชัดเจนว่าไม่มีวาระการแต่งตั้งผบ.ตร.
แต่พอถึงเวลาประชุมกลับมีรายการมั่วนิ่มเกิดขึ้น!?
นายกฯอภิสิทธิ์ได้อภิปรายข้อมูลบางประการต่อที่ประชุม
จากนั้นนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็เสนอว่าควรจะพิจารณาแต่งตั้งผบ.ตร. ใหม่เป็นวาระพิเศษเลย
แต่ก.ต.ช.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากวาระแต่งตั้งผบ.ตร.เป็นเรื่องสำคัญ ต้องบรรจุวาระนี้ไว้ตั้งแต่ก่อนประชุม ไม่ใช่หยิบยกมาเป็นวาระเร่งด่วนเช่นนี้
สุดท้ายเมื่อประเมินแล้วว่าเสียงคัดค้านยังมีมากกว่าเยอะ นายกฯจึงให้ยุติเรื่องนี้ทันที
เรื่องนี้โดนวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า
การแต่งตั้งผบ.ตร.ต้องสง่างาม ไม่ควรใช้วิธีสอดไส้ หรือหักคอกันดื้อๆ
ที่จริงแล้วปัญหานี้ไม่ใช่ทางตัน
แค่นายกฯควรลดทิฐิ อย่าคิดเพียงแค่ว่าใครก็มาขวางไม่ได้ ยอมรับฟังคำแนะนำของผู้ใต้บังคับบัญชา และฟังเสียงส่วนใหญ่ให้มากกว่านี้
ก็จะเจอทางออกในที่สุด
ดีกว่ามั่วนิ่มแบบนี้