คอลัมน์ แฟ้มคดี
ถูกเพ่งเล็งมาตั้งแต่กลุ่มนปช. หรือม็อบเสื้อแดงออกมาแฉว่า "สนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ คลับ แอนด์ รีสอร์ท" ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเขาสอยดาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว
ที่กลุ่มนปช. พุ่งเป้าเล่นงานสนามกอล์ฟแห่งนี้ต่อจากปัญหาเขายายเที่ยงของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกฯ จนทำให้ต้องย้ายข้าวของและคืนที่ดินให้หลวง เพราะเชื่อว่าโยงถึงพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี!??
นปช.พาม็อบไปเย้วๆ ที่หน้าสนามกอล์ฟ ก่อนเข้ากรุงเทพฯยื่นหนังสือต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ช่วงปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมา
เนื่องจากมีหลักฐานว่าสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ฯ บุกรุกป่าสงวนฯ โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้แจ้งความดำเนินคดีไว้ตั้งแต่ปี 2546
แต่จนทุกวันนี้คดีก็ยังคาอยู่ที่อัยการ!??
ลำพังการออกมาเคลื่อนไหวของนปช.ก็ทำให้สังคมจับตาสนามกอล์ฟแห่งนี้ ว่าเชื่อมโยงถึงบุคคลที่ถูกกล่าวหา และบุกรุกที่ป่าจริงหรือไม่
มาตอนนี้คดีนี้ยิ่งได้รับความสนใจและมีข้อกังขามากขึ้น เมื่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ผู้รับผิดชอบคดีนี้พบหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งอย่างบังเอิญ!??
หลักฐานที่ว่าเป็นภาพถ่ายทางดาวเทียม เปรียบเทียบพื้นที่สนามกอล์ฟตั้งแต่ปี 2518, 2539 และ 2545
ภาพแสดงชัดเจนว่าพื้นที่สนามกอล์ฟ ขยายออกไปอย่างเห็นได้ชัด และบางส่วนคาบเกี่ยวกับพื้นที่เขตป่าสงวนฯ!??
ที่น่าตระหนกก็คือภาพถ่ายที่เป็นหลักฐานสำคัญนี้ไม่มีอยู่ในสำนวนชุดแรก ที่ตำรวจปทส. ส่งให้อัยการพิจารณา
จากหลักฐานที่ส่งไปพบว่าเบาราวปุยนุ่น ซึ่งมีแนวโน้มอย่างสูงว่าหลักฐานน่าจะไม่เพียงพอต่อการส่งฟ้องศาล
เวลาล่วงผ่านไปหลายปี คดีนี้เหมือนไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก และคนในสังคมยังรับรู้น้อยยิ่งกว่าน้อย
กระทั่งนปช.ออกมาเคลื่อนไหว จึงถูกจับตามากขึ้น
เป็นเหตุบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ หลังการออกมาแฉของนปช. ตำรวจปทส. มีกิจกรรม"5 ส."หรือการทำความสะอาดและจัดระเบียบในที่ทำงาน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กก.1 ปทส. ทำความสะอาดและจัดระเบียบหน่วยงาน พบภาพถ่ายทางอากาศของสนามกอล์ฟดังกล่าว!??
และด้วยชื่อของสนามกอล์ฟแห่งนี้เพิ่งเป็นข่าวใหญ่ที่โดนนปช.บุกไป เจ้าหน้าที่จำได้แม่นยำ จึงส่งหลักฐานให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบทันที
ตำรวจปทส.ประสานอัยการเพื่อขอดูสำนวนชุดเดิม และพบว่าไม่มีภาพถ่ายชุดนี้รวมอยู่ด้วย!??
เมื่อติดต่อไปยังกรมป่าไม้เจ้าทุกข์ที่แจ้งความดำเนินคดี ซึ่งสมัยนั้นมอบอำนาจให้นายสุนทร วัชรกุลดิลก เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 กรมป่าไม้ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อผบช.ก. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546
กรมป่าไม้ตอบกลับมาว่าส่งหลักฐาน รวมถึงภาพถ่ายทางดาวเทียมชุดนี้แนบมาให้พนักงานสอบสวนทั้งหมดแล้ว!??
พ.ต.อ.เทวัญ มังคละชาติกุล ผกก.1 ปทส. ตรวจพิจารณาในชั้นต้น ก่อนแจ้งต่อไปยัง พล.ต.ต.มิสกวัน บัวรา ผบก.ปทส. และทำหนังสือแจ้งต่อไปยังอัยการจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งแนบสำนวนการสอบสวนเพื่อแจ้งว่าได้รับเอกสารสำคัญทางคดี คือสำเนาผลการแปล ตีความ และวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายทางอากาศ
นายสถาพร ภักดีวงศ์ อัยการจังหวัดประจำกรม ปฏิบัติราชการแทนอัยการจังหวัดจันทบุรี จึงทำหนังสือแจ้งกับมายัง ผบก.ปทส.ให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม และให้พนักงานสอบสวนส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมต่อพนักงานอัยการภายในวันที่ 15 มี.ค.2553
ตำรวจปทส. จึงปัดฝุ่นคดีนี้ขึ้นมาตรวจสอบอย่างละเอียดใหม่ทั้งหมด
สําหรับสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ฯ ดำเนินเป็นกิจการโรงแรม และสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม มีเนื้อที่ครอบคลุมจำนวน 4,012 ไร่ ของบริษัท สวนจันทบุรี จำกัด ซึ่งดูแลเรื่องที่ดิน และบริษัท จันทบุรีคันทรีคลับ จำกัด ซึ่งดูแลกิจการโรงแรมและสนามกอล์ฟ
กรมป่าไม้ตรวจสอบปัญหาการบุกรุกที่ป่าสงวนฯหลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าสนามกอล์ฟดังกล่าวบุกรุกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่งผลให้ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
กรมป่าไม้เข้าสอบสวนข้อเท็จจริง โดยหลักฐานสำคัญที่สุดคือภาพ ถ่ายทางดาวเทียม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่มีการเข้าครอบครองพื้นที่
จากการเปรียบเทียบภาพถ่ายทางดาวเทียมพบข้อมูลที่ดินรายแปลงอย่างน่าสนใจ
เริ่มจากเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง น.ส.3 เลขที่ 108 พ.ศ. 2518 มีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 57.1 เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 42.9 ต่อมาปีพ.ศ.2545 พื้นที่ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 14.3 พื้นที่สนามกอล์ฟ ร้อยละ 14.3 และเป็นพื้นที่น้ำ ร้อยละ 71.4
เอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง น.ส.3 เลขที่ 109 พ.ศ.2518 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 95.2 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 4.8 พอมาปีพ.ศ.2548 พื้นที่ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 53.6 พื้นที่สนามกอล์ฟ ร้อยละ 46.4
โฉนดที่ดินเลขที่ 674 ปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 71.7 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 28.3 พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 6.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 77 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 16.2
โฉนดที่ดินเลขที่ 675 ในปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 87.4 การ เกษตร ร้อยละ 12.6 พอมาปีพ.ศ.2545 เหลือป่าไม้ ร้อยละ 41 พื้นที่ทำ การเกษตร ร้อยละ 2.5 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 42 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 4.5
โฉนดที่ดินเลขที่ 676 ในปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ร้อยละ 65.4 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 34.6 พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ ร้อยละ 22.3 พื้นที่เกษตร ร้อยละ 48.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 19.1 พื้นที่น้ำ ร้อยละ 9.8
และโฉนดที่ดินเลขที่ 678 พ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 80.5 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 19.5 พ.ศ.2545 ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 5 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 69.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 19.5 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 5.7
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง ที่เป็นแปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 1 (17) พ.ศ.2518 มีป่าไม้เต็มพื้นที่ พ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือร้อยละ 27.8 กลายเป็นสนามกอล์ฟ ร้อยละ 72.2, แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 2 (15) ป่าไม้เต็มพื้นที่ พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 90.5 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 9.5
แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 6 (14) ป่าไม้เต็มพื้นที่ แต่ปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 81 พื้นที่น้ำ ร้อยละ 19, และ แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 7 (13) ในปีพ.ศ.2518 ป่าไม้เต็มพื้นที่ พอมาปี พ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 60.9 ที่เหลือเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 39.1
จักเห็นได้ว่าภาพถ่ายดาวเทียมเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง แต่กลายเป็นว่าหลักฐานนี้ถูก"ซุก"เอาไว้ ไม่ปรากฏอยู่ในหลักฐานที่นำส่งอัยการพิจารณา
และยิ่งกว่านั้นสำนวนของตำรวจแนบความเห็นของผบก.ปทส.คนเก่า
เห็นควร "สั่งไม่ฟ้อง"ด้วย!??
อย่างไรก็ตามหลังมีการแฉเรื่องหลักฐานที่ถูกซุกเอาไว้ ผบก.ปทส. คนเก่าออกมาระบุว่าที่สั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่เห็นหลักฐานสำคัญชิ้นนี้เช่นกัน!??
หลังส่งหลักฐานเด็ดไปให้อัยการ ฝ่ายอัยการก็แทงเรื่องกลับมาเพื่อให้สอบ สวนเพิ่มเติม โดยให้ส่งเรื่องกลับไปภายในวันที่ 15 มีนาคม นี้
พล.ต.ต.มิสกวัน ผบก.ปทส.จึงส่งชุดทำงานเข้าพื้นที่ประสานกับป่าไม้ และฝ่ายรังวัดตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ
"คดีจะส่งผลสรุปการดำเนินการสอบสวนได้ทันในวันที่ 15 มี.ค.หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่พนักงานสอบสวนลงพื้นที่สอบพยานว่าข้อมูลที่สอบเพิ่มทั้งหมดนั้น จะมีมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อพนักงานสอบสวนจะรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกำหนดที่อัยการสั่ง"
จากการพบหลักฐานที่ถูกซุกเอาไว้ทำให้กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.)ให้ พ.ต.อ.เกียรติพงศ์ ขาวสำอางค์ รองผบก.ปทส. ทำรายงานการค้นพบเอกสารสำคัญดังกล่าว ส่งถึงบช.ก.ทันที
เชื่อว่าน่าจะมีการตั้งกรรมการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องกับการทำสำนวน ว่าเหตุใดจึงปล่อยให้หลักฐานสำคัญ ที่ชี้เป็นชี้ตายคดีนี้ตกหล่นไปได้!??
โดยภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ทางน้ำสายที่แยกมาจากคลองพระพุทธ ซึ่งเป็นสายหลักที่ชาวบ้านใช้หายไปจากการสร้างอ่างกักเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง ในพื้นที่สนามกอล์ฟ จนนำมาสู่การร้องเรียนและสอบสวนเมื่อ ปี 2546
ในส่วนของอัยการโดยนายสถาพร ภักดีวงศ์ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี เจ้าของสำนวนคดี กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งพบว่าคดีนี้มีความคืบหน้าช้ามาก จึงประชุมติดตามสำนวนมาโดยตลอดจนมีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการสรุปสำนวน
"เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีใหญ่ และมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม อัยการจังหวัดไม่อาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้เลย ทำได้เพียงแค่สรุปสำนวนทั้งหมดพร้อมทั้งความเห็น เสนออัยการเขต 2 เป็นผู้พิจารณาการสั่งคดีอีกชั้น" นายสถาพร กล่าว
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตที่คาบเกี่ยวกับคดีนี้ด้วยว่า ช่วงปี 2546 ที่กรมป่าไม้แจ้งความดำเนินคดีกับสนามกอล์ฟ ยังส่งเรื่องกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ที่ดิน ที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดไปยังป.ป.ช.ให้สอบสวนด้วย
จนทุกวันนี้ผ่านมาราว 6 ปี ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก!??
และหลังจากเรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ขึ้นมา มีอีกหลายประเด็นน่าสงสัยโผล่ออกมาเรื่อยๆ ที่น่าสนใจเป็นการซื้อขายที่ดินบางแปลงในย่านนั้น พบว่าเจ้าของที่ดินเป็นเพียงชาวบ้านยากจน และบางคนเคยเป็นแคดดี้เก่า
แต่วันดีคืนดีมีจดหมายจากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีขายที่ดินแปลงใหญ่ กว่า 10 ล้านบาท จนเจ้าตัวแทบช็อก
แต่ท้ายที่สุดมี"มือที่มองไม่เห็น" ช่วยจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย!??
ปัญหาซุกหลักฐาน คดีที่เดินไปอย่างเชื่องช้าทั้งในขั้นตอนพนักงานสอบสวน-อัยการ รวมไปถึงในส่วนของป.ป.ช. ที่ผ่านมาถึง 6 ปี นับจากการกล่าวโทษของกรมป่าไม้
น่าจะแสดงให้เห็นว่าสนามกอล์ฟ แห่งนี้มี"แบ็กอัพ"ไม่ธรรมดา!??
ที่กลุ่มนปช. พุ่งเป้าเล่นงานสนามกอล์ฟแห่งนี้ต่อจากปัญหาเขายายเที่ยงของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกฯ จนทำให้ต้องย้ายข้าวของและคืนที่ดินให้หลวง เพราะเชื่อว่าโยงถึงพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี!??
นปช.พาม็อบไปเย้วๆ ที่หน้าสนามกอล์ฟ ก่อนเข้ากรุงเทพฯยื่นหนังสือต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ช่วงปลายเดือนมกราคม ที่ผ่านมา
เนื่องจากมีหลักฐานว่าสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ฯ บุกรุกป่าสงวนฯ โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้แจ้งความดำเนินคดีไว้ตั้งแต่ปี 2546
แต่จนทุกวันนี้คดีก็ยังคาอยู่ที่อัยการ!??
ลำพังการออกมาเคลื่อนไหวของนปช.ก็ทำให้สังคมจับตาสนามกอล์ฟแห่งนี้ ว่าเชื่อมโยงถึงบุคคลที่ถูกกล่าวหา และบุกรุกที่ป่าจริงหรือไม่
มาตอนนี้คดีนี้ยิ่งได้รับความสนใจและมีข้อกังขามากขึ้น เมื่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ผู้รับผิดชอบคดีนี้พบหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งอย่างบังเอิญ!??
หลักฐานที่ว่าเป็นภาพถ่ายทางดาวเทียม เปรียบเทียบพื้นที่สนามกอล์ฟตั้งแต่ปี 2518, 2539 และ 2545
ภาพแสดงชัดเจนว่าพื้นที่สนามกอล์ฟ ขยายออกไปอย่างเห็นได้ชัด และบางส่วนคาบเกี่ยวกับพื้นที่เขตป่าสงวนฯ!??
ที่น่าตระหนกก็คือภาพถ่ายที่เป็นหลักฐานสำคัญนี้ไม่มีอยู่ในสำนวนชุดแรก ที่ตำรวจปทส. ส่งให้อัยการพิจารณา
จากหลักฐานที่ส่งไปพบว่าเบาราวปุยนุ่น ซึ่งมีแนวโน้มอย่างสูงว่าหลักฐานน่าจะไม่เพียงพอต่อการส่งฟ้องศาล
เวลาล่วงผ่านไปหลายปี คดีนี้เหมือนไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก และคนในสังคมยังรับรู้น้อยยิ่งกว่าน้อย
กระทั่งนปช.ออกมาเคลื่อนไหว จึงถูกจับตามากขึ้น
เป็นเหตุบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่ หลังการออกมาแฉของนปช. ตำรวจปทส. มีกิจกรรม"5 ส."หรือการทำความสะอาดและจัดระเบียบในที่ทำงาน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กก.1 ปทส. ทำความสะอาดและจัดระเบียบหน่วยงาน พบภาพถ่ายทางอากาศของสนามกอล์ฟดังกล่าว!??
และด้วยชื่อของสนามกอล์ฟแห่งนี้เพิ่งเป็นข่าวใหญ่ที่โดนนปช.บุกไป เจ้าหน้าที่จำได้แม่นยำ จึงส่งหลักฐานให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบทันที
ตำรวจปทส.ประสานอัยการเพื่อขอดูสำนวนชุดเดิม และพบว่าไม่มีภาพถ่ายชุดนี้รวมอยู่ด้วย!??
เมื่อติดต่อไปยังกรมป่าไม้เจ้าทุกข์ที่แจ้งความดำเนินคดี ซึ่งสมัยนั้นมอบอำนาจให้นายสุนทร วัชรกุลดิลก เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 กรมป่าไม้ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อผบช.ก. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546
กรมป่าไม้ตอบกลับมาว่าส่งหลักฐาน รวมถึงภาพถ่ายทางดาวเทียมชุดนี้แนบมาให้พนักงานสอบสวนทั้งหมดแล้ว!??
พ.ต.อ.เทวัญ มังคละชาติกุล ผกก.1 ปทส. ตรวจพิจารณาในชั้นต้น ก่อนแจ้งต่อไปยัง พล.ต.ต.มิสกวัน บัวรา ผบก.ปทส. และทำหนังสือแจ้งต่อไปยังอัยการจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งแนบสำนวนการสอบสวนเพื่อแจ้งว่าได้รับเอกสารสำคัญทางคดี คือสำเนาผลการแปล ตีความ และวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายทางอากาศ
นายสถาพร ภักดีวงศ์ อัยการจังหวัดประจำกรม ปฏิบัติราชการแทนอัยการจังหวัดจันทบุรี จึงทำหนังสือแจ้งกับมายัง ผบก.ปทส.ให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม และให้พนักงานสอบสวนส่งผลการสอบสวนเพิ่มเติมต่อพนักงานอัยการภายในวันที่ 15 มี.ค.2553
ตำรวจปทส. จึงปัดฝุ่นคดีนี้ขึ้นมาตรวจสอบอย่างละเอียดใหม่ทั้งหมด
สําหรับสนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ฯ ดำเนินเป็นกิจการโรงแรม และสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม มีเนื้อที่ครอบคลุมจำนวน 4,012 ไร่ ของบริษัท สวนจันทบุรี จำกัด ซึ่งดูแลเรื่องที่ดิน และบริษัท จันทบุรีคันทรีคลับ จำกัด ซึ่งดูแลกิจการโรงแรมและสนามกอล์ฟ
กรมป่าไม้ตรวจสอบปัญหาการบุกรุกที่ป่าสงวนฯหลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าสนามกอล์ฟดังกล่าวบุกรุกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่งผลให้ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
กรมป่าไม้เข้าสอบสวนข้อเท็จจริง โดยหลักฐานสำคัญที่สุดคือภาพ ถ่ายทางดาวเทียม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่มีการเข้าครอบครองพื้นที่
จากการเปรียบเทียบภาพถ่ายทางดาวเทียมพบข้อมูลที่ดินรายแปลงอย่างน่าสนใจ
เริ่มจากเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง น.ส.3 เลขที่ 108 พ.ศ. 2518 มีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 57.1 เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 42.9 ต่อมาปีพ.ศ.2545 พื้นที่ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 14.3 พื้นที่สนามกอล์ฟ ร้อยละ 14.3 และเป็นพื้นที่น้ำ ร้อยละ 71.4
เอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง น.ส.3 เลขที่ 109 พ.ศ.2518 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 95.2 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 4.8 พอมาปีพ.ศ.2548 พื้นที่ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 53.6 พื้นที่สนามกอล์ฟ ร้อยละ 46.4
โฉนดที่ดินเลขที่ 674 ปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 71.7 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 28.3 พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 6.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 77 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 16.2
โฉนดที่ดินเลขที่ 675 ในปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 87.4 การ เกษตร ร้อยละ 12.6 พอมาปีพ.ศ.2545 เหลือป่าไม้ ร้อยละ 41 พื้นที่ทำ การเกษตร ร้อยละ 2.5 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 42 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 4.5
โฉนดที่ดินเลขที่ 676 ในปีพ.ศ.2518 มีป่าไม้ร้อยละ 65.4 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 34.6 พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ ร้อยละ 22.3 พื้นที่เกษตร ร้อยละ 48.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 19.1 พื้นที่น้ำ ร้อยละ 9.8
และโฉนดที่ดินเลขที่ 678 พ.ศ.2518 มีป่าไม้ ร้อยละ 80.5 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 19.5 พ.ศ.2545 ป่าไม้เหลือ ร้อยละ 5 พื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 69.8 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 19.5 และพื้นที่น้ำ ร้อยละ 5.7
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารสิทธิ หรือพื้นที่ครอบครอง ที่เป็นแปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 1 (17) พ.ศ.2518 มีป่าไม้เต็มพื้นที่ พ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือร้อยละ 27.8 กลายเป็นสนามกอล์ฟ ร้อยละ 72.2, แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 2 (15) ป่าไม้เต็มพื้นที่ พอมาปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 90.5 สนามกอล์ฟ ร้อยละ 9.5
แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 6 (14) ป่าไม้เต็มพื้นที่ แต่ปีพ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 81 พื้นที่น้ำ ร้อยละ 19, และ แปลงที่เตรียมออกเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน 7 (13) ในปีพ.ศ.2518 ป่าไม้เต็มพื้นที่ พอมาปี พ.ศ.2545 ป่าไม้ลดเหลือ ร้อยละ 60.9 ที่เหลือเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 39.1
จักเห็นได้ว่าภาพถ่ายดาวเทียมเป็นหลักฐานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง แต่กลายเป็นว่าหลักฐานนี้ถูก"ซุก"เอาไว้ ไม่ปรากฏอยู่ในหลักฐานที่นำส่งอัยการพิจารณา
และยิ่งกว่านั้นสำนวนของตำรวจแนบความเห็นของผบก.ปทส.คนเก่า
เห็นควร "สั่งไม่ฟ้อง"ด้วย!??
อย่างไรก็ตามหลังมีการแฉเรื่องหลักฐานที่ถูกซุกเอาไว้ ผบก.ปทส. คนเก่าออกมาระบุว่าที่สั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่เห็นหลักฐานสำคัญชิ้นนี้เช่นกัน!??
หลังส่งหลักฐานเด็ดไปให้อัยการ ฝ่ายอัยการก็แทงเรื่องกลับมาเพื่อให้สอบ สวนเพิ่มเติม โดยให้ส่งเรื่องกลับไปภายในวันที่ 15 มีนาคม นี้
พล.ต.ต.มิสกวัน ผบก.ปทส.จึงส่งชุดทำงานเข้าพื้นที่ประสานกับป่าไม้ และฝ่ายรังวัดตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนฯ
"คดีจะส่งผลสรุปการดำเนินการสอบสวนได้ทันในวันที่ 15 มี.ค.หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่พนักงานสอบสวนลงพื้นที่สอบพยานว่าข้อมูลที่สอบเพิ่มทั้งหมดนั้น จะมีมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อพนักงานสอบสวนจะรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกำหนดที่อัยการสั่ง"
จากการพบหลักฐานที่ถูกซุกเอาไว้ทำให้กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.)ให้ พ.ต.อ.เกียรติพงศ์ ขาวสำอางค์ รองผบก.ปทส. ทำรายงานการค้นพบเอกสารสำคัญดังกล่าว ส่งถึงบช.ก.ทันที
เชื่อว่าน่าจะมีการตั้งกรรมการสอบสวนผู้เกี่ยวข้องกับการทำสำนวน ว่าเหตุใดจึงปล่อยให้หลักฐานสำคัญ ที่ชี้เป็นชี้ตายคดีนี้ตกหล่นไปได้!??
โดยภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ทางน้ำสายที่แยกมาจากคลองพระพุทธ ซึ่งเป็นสายหลักที่ชาวบ้านใช้หายไปจากการสร้างอ่างกักเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง ในพื้นที่สนามกอล์ฟ จนนำมาสู่การร้องเรียนและสอบสวนเมื่อ ปี 2546
ในส่วนของอัยการโดยนายสถาพร ภักดีวงศ์ อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี เจ้าของสำนวนคดี กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งพบว่าคดีนี้มีความคืบหน้าช้ามาก จึงประชุมติดตามสำนวนมาโดยตลอดจนมีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานในการสรุปสำนวน
"เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีใหญ่ และมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก รวมถึงเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของสังคม อัยการจังหวัดไม่อาจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้เลย ทำได้เพียงแค่สรุปสำนวนทั้งหมดพร้อมทั้งความเห็น เสนออัยการเขต 2 เป็นผู้พิจารณาการสั่งคดีอีกชั้น" นายสถาพร กล่าว
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตที่คาบเกี่ยวกับคดีนี้ด้วยว่า ช่วงปี 2546 ที่กรมป่าไม้แจ้งความดำเนินคดีกับสนามกอล์ฟ ยังส่งเรื่องกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ที่ดิน ที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดไปยังป.ป.ช.ให้สอบสวนด้วย
จนทุกวันนี้ผ่านมาราว 6 ปี ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก!??
และหลังจากเรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ขึ้นมา มีอีกหลายประเด็นน่าสงสัยโผล่ออกมาเรื่อยๆ ที่น่าสนใจเป็นการซื้อขายที่ดินบางแปลงในย่านนั้น พบว่าเจ้าของที่ดินเป็นเพียงชาวบ้านยากจน และบางคนเคยเป็นแคดดี้เก่า
แต่วันดีคืนดีมีจดหมายจากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีขายที่ดินแปลงใหญ่ กว่า 10 ล้านบาท จนเจ้าตัวแทบช็อก
แต่ท้ายที่สุดมี"มือที่มองไม่เห็น" ช่วยจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย!??
ปัญหาซุกหลักฐาน คดีที่เดินไปอย่างเชื่องช้าทั้งในขั้นตอนพนักงานสอบสวน-อัยการ รวมไปถึงในส่วนของป.ป.ช. ที่ผ่านมาถึง 6 ปี นับจากการกล่าวโทษของกรมป่าไม้
น่าจะแสดงให้เห็นว่าสนามกอล์ฟ แห่งนี้มี"แบ็กอัพ"ไม่ธรรมดา!??