บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

นายกฯ สมชาย

ที่มา บางกอกทูเดย์

วันที่ 9 มีนาคม 2553 เป็นวันที่วุฒิสภาคงจะมีการลงมติเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนหนึ่งที่ถูก ป.ป.ช. มีมติชี้มูลว่า...มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรายนี้เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งมีนามว่า “นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์” ซึ่งปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2551เดิมรายงานของ ป.ป.ช. ที่ส่งมายังวุฒิสภานั้นเคยพิจารณากันว่า...อาจจะไม่สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ เนื่องจากผลสอบของ ป.ป.ช. ส่งมาภายหลังจากที่ “นายสมชาย” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้วในการประชุมวุฒิสภาคราวนั้นจึงเป็นเพียงการแจ้งรายงานของ ป.ป.ช. ให้วุฒิสภาทราบ ซึ่งต่อมาก็มีความเห็นของสื่อมวลชนบางคนที่ยกข้อกฎหมายมาบอกว่า...ยังต้องดำเนินการถอดถอนต่อไป เพราะ

จะมีผลต่อการเว้นวรรคทางทางเมืองด้วยสมาชิกวุฒิสภาบางคนจึงนำเรื่องเข้าหารือ จนในที่สุดประธานวุฒิสภาก็นำรายงานของ ป.ป.ช. เข้ามาพิจารณากันใหม่ สมาชิกวุฒิสภาก็อภิปรายกันอย่างกว้างขวางส่วนหนึ่งก็เห็นว่าจะต้องดำเนินการถอดถอนต่อไป...แม้ว่าผู้ที่จะถูกถอดถอนนั้นได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ตาม โดยสรุปก็เพื่อจะให้มีผลไปถึงการห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกห้าปีนั่นเองอีกส่วนหนึ่งกลับมาพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่ามี

เจตนารมณ์อย่างไร ซึ่งก็มีการยกเหตุผลทางกฎหมายมาประกอบการพิจารณาตั้งแต่หลักการและเหตุผลมาประกอบแนวความคิดเมื่อมีสองแนวความคิด และต่างฝ่ายต่างยกเหตุผลมากล่าวอ้างก็ต้องมีการลงมติ ผลการลงมติก็ออกมาด้วยคะแนนเสียง 41 ต่อ 37 ให้ดำเนินการพิจารณาเพื่อถอดถอน “นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปคำว่า ถอดถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็เลยมีการพูดคุยกันต่อมาว่า...ตำแหน่งนั้นยังคงมีอยู่ให้สมาชิก

วุฒิสภาได้ลงมติถอดถอนหรือไม่ ซึ่งก็ยังหาข้อยุติกันไม่ได้!แต่เมื่อฝ่ายที่ต้องการให้ถอดถอนมีคะแนนเสียงมากกว่า กระบวนการถอดถอนจึงต้องดำเนินการต่อไป โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า...คะแนนที่จะใช้ในการถอดถอนนั้นจะต้องมีถึงสามในห้าของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดปัจจุบันสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดมีจำนวน 150 คน ดังนั้นคะแนนที่จะถือว่าเป็นมติในการถอดถอนจากตำแหน่งจะต้องได้ถึง 90 เสียง ซึ่งก็เป็นจำนวนที่ไม่น้อยทีเดียว ถ้าพิจารณาจากมติที่ลง

คะแนนให้นำเรื่องมาดำเนินการต่อเพราะสมาชิกวุฒิสภาที่เห็นว่าควรดำเนินการถอดถอนนั้นมีเพียง 41 เสียง เท่ากับว่า จะต้องมีสมาชิกวุฒิสภาคนอื่นมาเห็นด้วยอีกประมาณ 50 คนก็นับว่า...คงเป็นเรื่องที่สมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนจะใช้ดุลยพินิจของตนเองอย่างไรก็ตาม วุฒิสภาก็ได้จบสิ้นกระบวนการพิจารณาถอดถอนไปแล้ว คงเหลือเฉพาะวันที่จะลงมติว่า...จะถอดถอน “นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์” หรือไม่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า...มติที่ให้ถอดถอนนั้นจะถึง 90 เสียงหรือไม่ถ้าการ

ลงมติแล้วคะแนนออกมาว่า...มีเสียงถอดถอนตั้งแต่ 90 เสียงขึ้นไปก็เท่ากับว่า วุฒิสภามีมติถอดถอนนายสมชายออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งตามรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า...ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่วุฒิสภาลงมติก็เป็นปัญหาตามมาเหมือนกัน...เพราะ “นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์” ได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้วตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2551 อันเนื่องมาจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชนหรือว่า...วุฒิสภาจะมีอำนาจให้นายสมชายได้กลับมาเป็น

นายกรัฐมนตรีเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในวันที่ 9 มีนาคม 2553 เพื่อจะได้ดำเนินการถอนถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (ผมคิดเองนะครับ)สำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการถอดถอน...ซึ่งมีอยู่ประมาณ 37 เสียง ถ้ามีการเห็นด้วยตามมาอีกจากสมาชิกวุฒิสภาประมาณ 24 คน ก็จะได้เสียงประมาณ 61 คน อันจะทำให้การถอดถอนดังกล่าว ระงับไปทันทีผลที่จะตามมา...ถ้าคะแนนเสียงที่เห็นว่าควรถอดถอนได้น้อยกว่า 90 เสียง หรือคะแนน

เสียงที่เห็นว่าไม่ควรถอดถอนมีเกิน 61 เสียงขึ้นไป ก็แสดงว่า...วุฒิสภามีมติไม่ถอดถอนตามที่ ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้วุฒิสภาเท่ากับว่า มติของวุฒิสภาไม่เห็นพ้องกับรายงานของ ป.ป.ช. กระบวนการก็จะสิ้นสุด โดยมีผลให้เห็นว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ใช้อำนาจในการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามกฎหมายแล้ว สิ่งที่เขียนมาข้างต้นไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็ตาม เพียงต้องการให้พี่น้องผู้อ่านได้ทราบถึง กระบวนการทำงานของวุฒิสภา ตามความเห็นของทั้งสองฝ่ายที่ต่าง

มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นแต่ถ้าจะยกข้อกฎหมายในรัฐธรรมนูญมาให้อ่านประกอบตามไปด้วย พี่น้องผู้อ่านก็คงจะใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาตามไปด้วยได้ เพียงแต่ว่าจะเห็นด้วยกับความเห็นของฝ่ายใดก็สุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนรัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มีตั้งแต่มาตรา 270 ไปถึงมาตรา 274 โดยแต่ละมาตราก็มีบทบัญญัติไว้เป็นหลักการของกฎหมาย ถึงวิธีการและความหมายไว้เช่น มาตรา 273 บัญญัติว่า “เมื่อได้รับรายงาน

ตามมาตรา 272 แล้วให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว” คำว่า...เพื่อพิจารณาจึงนำมาสู่การดำเนินการถอดถอน เพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ใช่เพื่อทราบหรือ มาตรา 274 วรรคสอง บัญญัติว่า “ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี”คำว่า “ถูกถอด

ถอนออกจากตำแหน่ง” เป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ถูกนำมาอภิปรายอย่างกว้างขวางตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว โดยฝ่ายที่เห็นว่า...ไม่สามารถถอดถอนได้ เพราะว่า ปัจจุบันผู้จะถูกถอดถอนไม่มีตำแหน่งอยู่แล้วแต่ฝ่ายที่ต้องการถอดถอนก็มองไปยังคำว่า “ให้ตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี” จึงเห็นว่า...แม้จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็ต้องถอดถอนจากตำแหน่งต่อไป เพราะจะมีผลไปถึงการห้ามดำรงตำแหน่งห้าปีอ่านมาถึงตรงนี้แล้วพี่น้องผู้อ่าน

จะเห็นเป็นเช่นไร ก็ควรพิจารณาบนหลักการและเหตุผลของแต่ละคน ส่วนผลการลงมติในวุฒิสภาจะเป็นเช่นไรนั้น ก็ควรรอฟังกันในวันที่ 9 มีนาคม 2553 กันได้แต่จะไม่ทราบหรอกครับว่า...ใครลงมติให้ถอดถอนหรือไม่ถอนถอน เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ”ดังนั้น...คอยฟังเฉพาะผลการลงคะแนนก็แล้วกันนะครับ!

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker