บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ถอดความ: แถลงการณ์เอไอ เตือนอภิสิทธิ์แก้กฏหมายหมิ่นฯ

ที่มา ประชาไท

เอไอหรือองค์กรนิรโทษกรรมสากล ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากลที่มีชื่อเสียงได้ออก แถลงการณ์ถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์เรียกร้องให้มีการปรับแก้กฏหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และยุติการ เซ็นเซอร์เว็บไซต์ต่างๆให้ไม่เป็นเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ภายใต้กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐภาคี โดยมีรายละเอียดดังนี้

13 มกราคม 2553

หยุดถอยหลังลงคลองเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก

ประเทศไทยควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ถอยหลังลงคลองในเรื่องเคารพเสรีภาพในการแสดงออกได้แล้ว เนื่องจากนโยบายดังกล่าวได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ทำให้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพุ่งสูงขึ้นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว องค์กรนิรโทษกรรมสากลขอแสดงความยินดีต่อการที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดังที่มีรายงานในเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา

นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 มีคนไทยอย่างน้อย 2 คน คือ สุวิชา ท่าค้อ และดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกตัดสินจำคุกในคดีหมิ่นฯ โดยสุวิชาถูกพิพากษาจำคุก 10 ปี ส่วนดารณีถูกพิพากษาจำคุก 18 ปี ถึงแม้ว่าคดีของเธอยังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกหลายร้อยคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยห้ามการพูดและกระทำการใดๆ ที่เป็นการ “ใส่ร้ายป้ายสี ดูหมิ่นเหยียดหยาม และคุกคามต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ในกรณีที่กฎหมายหมิ่นฯ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก็จะถูกนำมาใช้แทนที่รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ กฎหมายหมิ่นฯ ยังจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกเกินกว่าข้อจำกัดที่ยินยอมได้ซึ่งให้ไว้ภายใต้กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีอยู่ด้วย

ประชาชนจำนวนมากที่ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายหมิ่นฯ ยังถูกดำเนินคดีภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วย รวมถึงสุวิชา ท่าค้อ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนำไปสู่การจ้องจับผิดในอินเตอร์เน็ตอย่างมโหฬารว่าจะมีเนื้อหาใดที่เป็นการดูหมิ่นราชวงศ์ เว็บไซต์จำนวนหลายหมื่นเว็บไซต์ถูกบล็อคจากรัฐบาลไทย ทั้งนี้ การเซ็นเซอร์เว็บไซต์อย่างกว้างขวางนั้นโดยตัวมันเองแล้วเป็นการละเมิดต่อกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเองก็ยอมรับว่ามีปัญหามากมายในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว

องค์กรนิรโทษกรรมสากลยังมีความวิตกกังวลในเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปใช้ในฐานะที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่จะพิจารณาคดีของดารณีภายในห้องปิดลับ ในเดือนมิถุนายน 2552 อันที่จริง เรื่องความมั่นคงของชาติเป็นหนึ่งในเหตุผลที่กำหนดอยู่ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองว่า รัฐภาคีอาจจะกำหนดข้อจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกได้ แต่การกระทำดังกล่าวจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีเหตุการณ์ซึ่งคุกคามต่อชีวิตประชาชน ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้

องค์กรนิรโทษกรรมสากลยอมรับว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากมายในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำให้การถอยหลังลงคลองในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลยิ่ง ในพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 มีใจความตอนหนึ่งว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเข้มงวดเกินไป ซึ่งทำให้การใช้กฎหมายนี้กลับมีผลทำร้ายพระองค์และทำร้ายประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ การขาดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมายังสะท้อนให้เห็นว่าประเทศชาติกำลังย่ำแย่

ดังนั้น องค์กรนิรโทษกรรมสากลจึงขอสนับสนุนความคิดริเริ่มของท่านนายกรัฐมนตรี และขอเป็นกำลังใจให้กับรัฐบาลไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสากล

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลควรจะยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมายหมิ่นฯ ที่ยินยอมให้บุคคลใดๆ ก็ตามสามารถรายงานถึงการกระทำของบุคคลอื่น โดยกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ นี้ได้

นอกจากนี้ รัฐบาลควรจะยุติการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ต่างๆ โดยอ้างเหตุผลในการรักษาไว้ซึ่งกฎหมายหมิ่นฯ นี้ด้วย

ภูมิหลัง

ตามรายงานของสำนักงานศาลยุติธรรม ในปี 2551 (ปีล่าสุดที่มีข้อมูล) มีการดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นฯ จำนวน 77 คดี

นอกเหนือจาก 2 คดี ที่กล่าวถึงในแถลงการณ์ ยังมีคดีของบุญยืน ประเสริฐยิ่ง ที่ถูกพิพากษาจำคุก 12 ปี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ด้วยข้อหาหมิ่นราชวงศ์ ซึ่งต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2552 ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินลดโทษเหลือเพียง 2 ปี

มาตรา 45 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ระบุว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกจะกระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อ “รักษาความมั่นคงของรัฐ” ทั้งนี้ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวต้องสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

AttachmentSize
ai.doc28.5 KB

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker