บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่

ที่มา เดลินิวส์

มันน่านัก ไม่รู้ไปอยู่หลังเขาซะที่ไหนสิ ถึงไม่เคยโผล่ไปดู โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ที่ จ.ฉะเชิงเทรา โครงการที่เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ ซีอีโอใหญ่ แห่งค่าย ซีพี หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภูมิ อกภูมิใจซะเหลือเกิน เพราะ ประสบความสำเร็จงดงาม ไม่ ใช่แค่ช่วยให้เกษตรกรลืมตาอ้า ปากได้

แต่เป็นเถ้าแก่กันเลย

ก่อนสิ้นปีวัว คุณน้อง พรรณีนี นนทพานิช รองกก. ผจก.บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) กรุณาโทรฯมาชวนให้ไปเยี่ยมโครงการนี้ พร้อมสื่อกลุ่มใหญ่ ดีจัง ได้เห็นความ ตั้งใจจริงของเจ้าสัวที่รวยติดอันดับโลก มาทุ่มเทให้กับโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรม หนองหว้า

ทำมานานกว่า 30 ปีแล้ว

บนเนื้อที่กว่า 1,200 ไร่ ตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้านเลย แค่สัมผัสแรกก็ทำให้พอรู้ ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น ๆ ยิ่งนั่งรถผ่านในหมู่ บ้าน ก็ยิ่งเห็นว่า เกษตรกรมีรายได้ดี หลายบ้านดูโอ่โถง ปลูกตึกทันสมัย มีเคเบิลทีวี มีรถเก๋ง รถปิกอัพ จอดคู่กันอยู่หน้าบ้าน เป็นเกษตรกรสมัยใหม่ ว่างั้นเถอะ

ที่สุดยอดคือน้อง ๆ หลายคนที่อาสาพาพี่ ๆ คุณน้า คุณอา ชมโครงการนั้น บางคนเป็นแค่เด็กประถม บางคนกำลังเรียนมหาวิทยาลัย บางคนจบแล้ว แต่ละคนบอกอย่างภาคภูมิใจว่า

เป็นเกษตรกรรุ่น 2

จากพื้นดินแตกระแหง และจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการปฏิรูปที่ดิน เจ้าสัวได้นำมาทำตาม ร่วมมือกับ ส่วนราชการ แบงก์กรุงเทพ (ที่ให้กู้) ตัวเกษตรกร และกลุ่มซีพี ผลักดันจนโครงการนี้ลงหลักปักฐานได้

เกษตรกรจะได้ที่ดิน 24 ไร่ เริ่มต้นมี 50 ครอบครัว ตอนนี้เกือบ 80 ครัวเรือนแล้ว จากเริ่มแรกเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ 30 ตัว ตอนนี้เริ่มที่ 100-700 ตัว บางคนมีรายได้ 2-3 แสนต่อเดือน ส่งลูกเต้าเรียนเมืองนอกสบาย ๆ

เจ้าสัวธนินท์เองก็มีบ้านอยู่ที่นี่ คุณน้องบอกว่า เจ้าสัวชอบมาที่นี่มาก ข่าวอะไรเกี่ยวกับโครงการนี้ หากข้อมูลคลาดเคลื่อน เจ้าสัวจะรู้หมด และจะสั่งให้ไป ชี้แจงทันที เพราะทุกอย่างที่นี่ เจ้าสัวปลุกปั้นมากับมือ

เกษตรกรที่ร่วมโครงการ ไม่ได้เลี้ยงหมูก็มี แต่ปลูกยางพารา ปลูกลีลาวดี ปลูกโกสน ที่ราคาดีมาก ๆ แต่บ้านไหนเลี้ยงหมู ผ่านปั๊บ รู้เลย เพราะกลิ่นเอกลักษณ์เอกบุรุษจริง ๆ !!!

เกษตรกรมีการจดทะเบียนเป็น บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด มีเกษตรกรด้วยกันเองเป็นกก.บริหารหมู่บ้าน ทำหน้าที่เชื่อมหน่วยราชการ แม้แต่ ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นผู้จัดส่งแม่พันธุ์หมู อาหารสัตว์ และอื่น ๆ

บริษัทนี้ ก็เจรจาเพื่อให้ได้ต้นทุนต่ำ เรียกว่า ต่อรองแบบธุรกิจ และที่เห็นแล้วต้องชม คือการ “รีไซเคิล” วัตถุเหลือใช้ เช่น เอาขี้หมูทำแก๊สชีวภาพลดโลกร้อน เอากากขี้หมูทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ขายได้ตังค์อีกทาง

มีการเพาะเห็ดฟาง ปลูกไผ่หวาน เลี้ยงม้า รวมทั้งไก่ชนอีกต่างหาก มีค่ายสอนพิเศษฤดูร้อน คณิตศาสตร์ อังกฤษ คอมพิวเตอร์ ให้ลูกหลานในโครงการ เด็กเหล่านี้ล่ะ เป็นมัคคุเทศก์ตัวน้อยที่มั่นใจ ในตนเอง

เหนืออื่นใด เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่พร้อมสืบต่ออาชีพเกษตรกรจากรุ่นพ่อแม่ ด้วยความภูมิใจและเต็มใจ นี่กระมัง ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของโครงการนี้.

ดาวประกายพรึก

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker