บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

หนัง Matrix การเมืองไทยกับข้อเปรียบเทียบเชิงพุทธ

ที่มา thaifreenews

(ตอน 2) ชุดของ Neo นอกจากเสื้อคลุมสีดำของ Neo จะใกล้เคียงกับชุดของ Zen แล้วใบหน้าของเขายังสงบนิ่งและสำรวมแบบพระแทบจะตลอดเวลาด้วย สองเรื่องนี้เป็นข้อสังเกตุที่น่าสนใจไม่น้อย

ชาว Zion เปรียบได้กับชาวพุทธพลเมืองชาว Zion (ซึ่งเปรียบได้กับชาวพุทธ)ยังเพียงอยู่บนเส้นทางสู่อิสรภาพที่สมบูรณ์ (การรู้แจ้ง) เท่านั้น ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงเพราะอิสรภาพที่สมบูรณ์ (นิพพานในพระพุทธศาสนา) หมายถึง ความสงบระงับ ไม่มีความทะยานอยากอีกต่อไป ชาว Zion ส่วนใหญ่รู้ความจริงของ Matrix (ความจริงแห่งสังสารวัฏฏ์) ระดับหนึ่ง

ซึ่งอาจเทียบได้กับพระโสดาบันเท่านั้น ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ จึงไม่สามารถบรรลุเสรีภาพที่แท้จริง (สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด) ส่วนชาว Zion ที่มุ่งมั่นช่วยเหลือผู้อื่นให้ตื่นตัวและหลุดพ้นอาจเปรียบได้กับพระโพธิสัตว์ในคติพระพุทธศาสนา Zion ล่มสลาย เปรียบได้กับพระธรรมอันตรธานสิ้น การทำลายล้าง Zion จนหมดสิ้น อาจเปรียบได้กับการสิ้นยุคพระพุทธศาสนาเพราะนั่นย่อมหมายความว่าไม่เหลือผู้รู้ความจริงเกี่ยวกับ Matrix (สังสารวัฏฏ์) แม้แต่คนเดียว


Neo อาจเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า ในบางกรณีอาจถือได้ว่า Neo มีลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้า คือเป็นผู้ "หลุดพ้น" จาก Matrix (สังสารวัฏฏ์) โดยสิ้นเชิง และสามารถกลับเข้าไปได้โดยไม่ถูกครอบงำ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้อื่น (สรรพสัตว์) ได้หลุดพ้นตาม แต่ Neo กลับ "รู้แจ้ง"น้อยกว่าที่เราคิด จึงอาจเทียบได้กับพระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยแรงจูงใจ (ความกรุณา) แต่ขาดความรู้ (ปัญญา) ที่จะช่วยเหลือโลก Neo สามารถปลุกเร้าให้ชาว Zion ตื่นตัวเท่านั้น ไม่อาจดึงใครออกจาก Matrix ได้ หากคนคนนั้นไม่ตั้งใจและเพียรพยายามด้วยตัวเอง(ทำนองเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ชี้ทางเดินเท่านั้น เราจะเดินหรือไม่เดินเป็นหน้าที่ของเรา)จิตใจที่จะสามารถหลุดพ้นได้ จึงต้องมีความปรารถนาและเพียรพยายามเป็นทุนเดิมที่ปรึกษา (Counsellor) พูดถึงความว่างเปล่าของเครื่องจักร ที่ปรึกษาระบุว่า

เครื่องจักรช่วยชาวZion ทำงานมากมาย เช่นทำให้เกิดแสงสว่าง ความร้อน และอากาศ แต่ก็มีเครื่องจักรบางอย่างมีเป้าหมายทำลายพวกเขาด้วย ดังนั้น ลำพังเครื่องจักรเองจึงเสมือนเป็นสิ่งว่างเปล่า จะบอกว่า ดีหรือไม่ดีไม่ได้ การตั้งโปรแกรมหรือเจตนาที่อยู่เบื้องหลังการสร้างและควบคุมเครื่องจักรต่างหากที่ทำให้เครื่องจักรดีหรือไม่ดี เหตุที่ฑูตสวรรค์ (Seraph) ต้องประลองฝีมือ ทูตสวรรค์บอก Neo หลังจากที่ประลองฝีมือกัน เพื่อพิสูจน์ว่าใช่ Neo จริงหรือไม่ว่า "คุณไม่อาจรู้จักใครได้อย่างแท้จริง จนกว่าคุณจะได้สู้กับเขา" เราเองก็เช่นกัน เราจะไม่รู้จักตัวเราเองเลย หากเราเอาชนะตัวเองไม่ได้ เราต้อง "สู้" กับตัวเอง เพื่ออิสรภาพและการรู้แจ้ง

การหยั่งเห็นองค์ประกอบ Matrix ของ Neo การที่ Neo สามารถหยั่งเห็นเนื้อในของ Matrix ว่าแท้จริงคือรหัสคำสั่งโปรแกรมที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา อาจเปรียบได้กับการหยั่งเห็นความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของสิ่งต่าง ๆ Oracle บอก Neo หลายครั้งเกี่ยวกับเรื่องชะตาลิขิต เธอบอกด้วยว่า เธอรู้ทุกสิ่งที่กำลังจะเกิด แต่เธอ ก็พูดขัดกับตัวเองว่า Neo ต้องเพิ่มพลัง

เพื่อเปลี่ยนแปลงชะตาลิขิตที่ได้ "กำหนดตายตัว" แล้ว นี่ย่อมแสดงว่า สิ่งที่ดูเหมือนได้ "ลิขิต" มาแล้ว แท้จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ยังเปลี่ยนแปลงได้อีก สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น หรือมีขึ้น เพื่ออะไร? Oracle บอก Neo ว่า "สิ่งใดก็ตามที่ได้เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเหตุผลบางอย่าง" ข้อนี้ไม่น่าจะถูกต้องเสียทั้งหมด เพราะสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น

ชาวพุทธบางคนเชื่อว่า คนเราเกิดมาเพื่อทำลายและหลุดจากกงล้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิด แต่บางคนอาจเชื่อว่าคนเราเกิดมาเพื่อเหตุผลอย่างอื่น ดังนั้น คำตอบสำหรับคำถามที่ว่า เราควรมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรจึงมีได้หลากหลายสิ่งที่ควรคำนึงคือ คำตอบใดที่เราคิดว่าดีที่สุด ประเสริฐสุด แล้วดำเนินไปตามนั้น ทำนองเดียวกัน

Morpheus เองก็พูดว่า "เราทุกคนมาอยู่ที่นี่ เพื่อทำสิ่งที่เราทุกคนต้องทำเมื่อมาอยู่ที่นี่" แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เรา "ต้อง" ทำ เราเลือกได้ตลอดเวลาเพื่อทำสิ่งที่ดีกว่าเป็นประโยชน์กว่า ตอนหนึ่ง Smith บอก Neo ว่า ทั้งสองอยู่ที่นี่ไม่ใช่เพราะหลุดพ้นจาก Matrix แต่เพราะไม่หลุดพ้นต่างหาก ข้อนี้เป็นจริง เพราะแม้ว่าทั้งสองจะถอดออกจาก Matrix แล้ว แต่ถ้าพวกเขาเป็นอิสระจาก Matrix จริง พวกเขาก็จะไม่ต่อสู้กัน ดังนั้น การจะเป็นอิสระจาก Matrix ได้ ยังต้องพัฒนาให้สูงขึ้นไปอีก

Merovingian พูดถึงความไม่มีกฎเกณฑ์ (เหตุ & ผล)
Merovingian พูดอย่างอหังการว่า "ทางเลือกคือสิ่งลวง ที่ผู้มีอำนาจสร้างขึ้นสำหรับผู้ไม่มีอำนาจ" เขาพูดขณะที่คิดว่าตัวเขาคือผู้มีอำนาจคนหนึ่ง ที่กำลังชักใยผู้อื่นอยู่แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่า เขาถูกภรรยาหักหลัง โดยเธอเลือกที่จะทำเอง และกว่าเขาจะรู้ก็สายเสียแล้ว มุมมองเรื่องนี้ของเขาจึงไม่ถูกต้อง แม้ว่าทางเลือกจะเป็นสิ่งลวง

(ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่) ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่เฉย ๆ ยอมก้มหน้ารับชะตากรรม โดยไม่ดิ้นรนอะไรเพราะคุณไม่มีวันรู้ว่า ชะตาชีวิตของคุณเป็นอย่างไร และไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนเขายังบอกด้วยว่า "สิ่งใดที่เกิดแล้ว ย่อมเกิดแล้ว ไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น" ข้อนี้ชัดเจนในตัวเป็นที่น่าสังเกตว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงการเดินทางข้ามเวลา (ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นไปไม่ได้เพราะขัดกับกฎแห่งเหตุและผล) สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นแล้ว จะไม่ปรากฏก็ไม่ได้ หรือจะปรากฏเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน

ข้อคิดจากช่างทำกุญแจ ต่อข้อถามที่ว่า เขาจะไปไหน ขณะถูกไล่ล่า
ช่างทำกุญแจตอบว่า "ไปอีกทางหนึ่ง จะต้องมีอีกทางหนึ่งเสมอ" คำตอบนี้ทำให้เราได้ข้อคิดว่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด เรามีทางเลือกอย่างน้อยสองทางเสมอ และเราเลือกได้อย่างอิสระแม้ในสภาพการณ์ที่บีบรัด ช่างทำกุญแจบอกว่า ประตูมีหลายบาน แต่ละบานเปิดสู่ "สถานที่" ที่ต่างกัน แต่จะมี "ประตูบานหนึ่งนำไปสู่ต้นกำเนิด (แกนกลางของ Matrix)" ประตูบานนี้อาจเทียบได้กับประตูที่นำไปสู่แก่นแท้ของความจริง นั่นคือพระไตรลักษณ์ และจะนำไปสู่อิสรภาพได้ในที่สุด

Morpheus พูดถึงเหตุผลแห่งการมีอยู่Morpheus พูดก่อนที่จะ "ทำสงคราม" ขั้นเด็ดขาดว่า "เราทุกคนสู้ศึกนี้มาชั่วชีวิต เราไม่ได้มาที่นี่ โดยบังเอิญ ผมไม่เชื่อเรื่องบังเอิญ ผมเชื่อว่าชะตาชีวิตลิขิตให้เรามาที่นี่"

สงครามที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ คือสงครามในจิตใจ ที่เรากำลังต่อสู้กับ "ตัวตน" ของเราแน่นอน เราไม่ได้ "อยู่ที่นี่" โดยบังเอิญ แต่เป็นเพราะอำนาจกรรม ซึ่งจะเรียกว่า "ชะตากรรม"ก็ได้ ชักนำให้เรามาอยู่ที่นี่ แต่ถึงกระนั้น "ชะตากรรม" ในอนาคตก็อยู่ในมือของเราเราสามารถกำหนดได้

สถาปนิกเปรียบได้กับ Ego ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง Matrix (สังสารวัฏฏ์)
สถาปนิก ในเรื่อง เขาเป็นผู้ที่มีความถือตัว เห็นแก่ตัว และชื่นชอบความสมบูรณ์แบบยอมรับความล้มเหลวไม่ได้ รวมทั้งที่เป็นของตัวเขาเอง ซึ่งเขาไม่เห็นว่านั่นเป็นความล้มเหลว จึงไม่ยอมรับ แต่กลับโทษว่าเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์ (ผู้อื่น)เขาพูดว่าความหวังคือสิ่งลวง แต่ตัวเขาเองก็มีความหวัง เขาหวังว่า Neo จะลบล้างและเริ่มต้นระบบที่บกพร่องใหม่อีกครั้งตามที่เขาต้องการ ในเรื่องความสมบูรณ์แบบ เขาไม่น่าเป็นคนสมบูรณ์แบบ เพราะยังทำให้จิตใจของเขาสมบูรณ์แบบไม่ได้ เขาเปรียบเหมือนพระเจ้าจอมปลอมซึ่งเป็นเพียง "มนุษย์" เท่านั้น ู่ สถาปนิกเปรียบเหมือนตัณหา สถาปนิกอ้างตนว่าเป็นผู้ออกแบบ Matrix ในทางพระพุทธศาสนา สถาปนิกหรือ"นายช่างผู้สร้างเรือน" คือตัณหา

มีข้อน่าสังเกตคือ ในเรื่อง "Little Buddha"คีนูรีฟซึ่งแสดงเป็นพระพุทธเจ้า(และในเรื่อง The Matrix แสดงเป็น Neo)ได้พูดกับตัณหาและเรียกตัณหาว่า"นายช่างผู้สร้างเรือน" การที่ Neo พบกับสถาปนิกช่วยให้เขาตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของเขาสถาปนิกเปรียบได้กับตัณหาเพราะเป็นผู้ผลักดันให้เราสร้าง Matrix - สร้างความยึดติดในสังสารวัฏฏ์หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ตรัสว่า "เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหา นายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏฏ์สิ้นชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือนบัดนี้ เราพบท่านแล้วท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก
โครงเรือนคือกิเลสของท่านเราหักเสียหมดแล้ว และยอดเรือนคืออวิชชา
แห่งเรือนท่านเราทำลายแล้วจิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว
จักดับอยู่ในภพนี้เอง"

สถาปนิกพูดถึง Neo
Neo "ทำไมผมมาอยู่ที่นี่?"

สถาปนิก "ชีวิตของคุณคือผลรวมของส่วนเกินของสมการที่ไม่สมดุลในโปรแกรม Matrixแล้วกลายมาเป็นสิ่งผิดปรกติในที่สุด ซึ่งแม้ผมจะพยายามเต็มที่แล้ว แต่ก็กำจัดให้หมดไปไม่ได้แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่เหนือการคาดคิด และจึงไม่ใช่สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องมาอยู่ที่นี่ไง" เราเองก็ไม่รู้ว่าทำไมเราต้องมาอยู่ที่นี่ ภาวะของความไม่รู้นี้คือความหลงหรืออวิชชา ตัวอวิชชานี้เองทำให้เราต้องเกิดใหม่ เราคือสมการที่ไม่สมดุล เนื่องจากเรามีความหลง ความหลงทำให้เราเป็นสิ่งผิดปรกติของโลกนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะควบคุมไม่ได้และถ้าขณะใดเราไม่ควบคุมตัวเราเอง ตัณหาหรือสถาปนิกก็จะมาควบคุม ู่ สถาปนิกพูดถึง พลังของสิ่งเล็กน้อย สถาปนิก "เห็นได้ชัดว่ามันเป็นความบกพร่องขั้นพื้นฐาน จึงก่อให้เกิดความผิดปรกติต่อระบบ ซึ่งถ้าปล่อยปละละเลย ก็จะเป็นภัยคุกคามระบบได้ ดังนั้น
ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสะสมและทวีความรุนแรงจนเป็นภัยพิบัติได้ โลกเราก็เช่นกันเราทุกคนต่างมีกรรมร่วมและเชื่อมโยงกันในลักษณะที่แยกแยะลำบาก การกระทำของคนคนหนึ่งอาจนำมาซึ่งหายนะของโลก หรือช่วยเหลือโลกก็ได้ สถาปนิกพูดถึงความรับผิดชอบของ Neo


สถาปนิกพูดกับ Neo ว่า "ปัญหาก็คือ คุณพร้อมรับผิดชอบต่อการตายของทุกชีวิตในโลกนี้หรือไม่"ในแง่นี้ Neo เปรียบได้กับพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งพยายามช่วยชีวิตสรรพสัตว์อย่างเต็มความสามารถ สถาปนิกพูดถึงทางเลือก "สุดท้าย" สถาปนิก "มีประตูสองประตู ประตูขวานำไปสู่ต้นกำเนิด และช่วยชาว Zion ได้ ประตูซ้ายพาคุณกลับไปสู่ Matrix ไปหาเธอ แต่เผ่าพันธุ์ของคุณก็สิ้นสุดด้วย เราเองก็ต้องเลือกตลอดเวลา ทางเลือกมีสองทางเป็นอย่างน้อยอยู่หรือไม่อยู่ ทำหรือไม่ทำ เราเลือกได้ว่าจะติดอยู่ในสังสาร หรือหลุดพ้นออกไป สถาปนิกพูดถึงปฏิกิริยาลูกโซ่ สถาปนิก "แต่เราก็รู้แล้วว่าคุณกำลังจะทำอะไรไม่ใช่หรือ?

เราสามารถเห็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่บ่งบอกว่าอารมณ์กำลังชนะเหตุผล เพราะอารมณ์กำลังปิดตาคุณไม่ให้เห็นความจริง ทั้งที่ความจริงนั้นออกจะเรียบง่ายและชัดเจน เธอกำลังจะตาย และคุณก็ไม่มีทางหยุดยั้งได ้

(Neo เดินไปเปิดประตูซ้าย ซึ่งตรงข้ามกับที่สถาปนิกคาดคิด*)

Neo ทำให้สถาปนิกคาดการณ์ผิดพลาด โดยการทำสิ่งที่ตรงข้ามกับที่สถาปนิกต้องการให้ทำ เราเองแม้จะติดอยู่ในวงจรปฏิกิริยาลูกโซ่ของเหตุและผล แต่เราก็ทำลายวงจรนี้ได้ เราสามารถตัดวงจรการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการรู้แจ้งสัจธรรม การที่ Neo เลือกประตูที่ช่วยชีวิต Trinityเป็นการทำลายโปรแกรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (การเกิดและการตาย) ได้เด็ดขาด หากเขาเลือกอีกประตูเพื่อช่วยชีวิตชาว Zion ตามที่ "ได้โปรแกรม" ไว้ ก็เท่ากับทำซ้ำรูปแบบเดิมที่คนก่อนเคยทำแล้ว (และนำไปสู่การเกิดใหม่ต่อไป) การทำลายลูกโซ่ของ Neo เท่ากับไปเปลี่ยนแปลงระบบ และเป็นการช่วยมวลมนุษย์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดเสรีภาพที่แท้จริง Neo ตระหนักว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้ Matrix บูท (เกิด) ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง การเกิดใหม่โดยไม่มีอะไรก้าวหน้าหรือไม่มีอิสรภาพมากขึ้น เป็นสิ่งไร้ค่า เพราะไม่ช่วยให้เราเข้าใกล้ความสุขที่แท้จริง ูสถาปนิกพูดถึงความหวัง สถาปนิก "ความหวังคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์หลงผิดได้มากที่สุดมันทั้งทำให้คุณเข้มแข็งที่สุด และอ่อนแอที่สุดในเวลาเดียวกัน ข้อนี้บอกเราว่าความหวังจะเป็นความศรัทธาที่มืดบอดได้ หากไม่มีปัญญากำกับทำไมเลือกความจริง ไม่เลือกสิ่งลวง

เมื่อดูหนังเรื่องนี้ เราอาจถามตัวเองว่า "ทำไมเราควรเลือกที่จะใช้ชีวิตในโลกแห่ง "ความจริง"ที่ดูออกจะแห้งแล้ง ไร้สีสัน ทั้งที่มีโลกมายาที่น่าอภิรมย์กว่า คำตอบคือ ก็เพราะโลกมายาไม่มีอยู่จริง ความสุขในโลกมายาจึงไม่จริงด้วย ความสุขที่แท้จริงมาจากการควบคุมชีวิตได้ทั้งหมด และสามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องชัดเจน (ปัญญา) ชีวิตหรือความสุขใน Matrix(สังสารวัฏฏ์) ต้องขึ้นกับความเมตตาสงสารของ Matrix ซึ่งก็เหมือนกับที่เราต้องอิงอาศัยวัตถุจึงจะมีความสุขได้ แต่นั่นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้ต้องมาจากการมีจิตใจอิสระไม่ต้องอิงอาศัยหรือพึ่งพิงสิ่งใด เราเองก็ติดอยู่ใน Matrix เป็นไปได้ไหมว่า เราทุกคนล้วนเลือกที่จะเชื่อมต่อหรือติดอยู่ใน Matrix เอง ไม่มีการบังคับใด ๆ มีอะไรปิดตาหรือลวงเราอยู่หรือเปล่า ทำไมเราไม่หลุดพ้นเสียที? ทำไมต้องโหลดใหม่

ขอบคุณเนื้อหาจากเวปวิชาการดอทคอม

www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker