เป็นเรื่องอีกแล้วครับทั่น เมื่อสื่อเมืองผู้ดีตีข่าว...รัฐบาลอังกฤษได้ออกคำสั่งห้ามส่งออกและจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดแบบมือถือ ADE-651 ไปยังประเทศอิรักและอัฟกานิสถาน เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมาแล้วเกี่ยวกับประเทศไทยตรงไหนหรือ?ถ้าเครื่องมือที่ว่านี้ไม่มีการนำเข้ามาใช้ในภารกิจของกองทัพไทย ในพื้นที่ภาคใต้แล้ว คงจะไม่เกี่ยวที่เกี่ยวเพราะเจ้าเครื่องที่ว่านี้...เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้าย จีที-200ที่มีปัญหาในการใช้และสร้างข้อกังขาให้กับประชาชนตาดำๆ ว่า เครื่องจีที-200จะสามารถตรวจหาวัตถุระเบิดได้จริงหรือไม่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทยโดยไม่ต้องอธิบายอีกคือ เจ้าเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดนี้
ถูกส่งไปจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศไทยโดยรัฐบาลอิรักเคยทุ่มเงินถึง 85 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2,500 ล้านบาท)เพื่อจัดซื้อเครื่องมือชนิดนี้ซึ่งมีสนนราคาอยู่ที่เครื่องละ 40,000 เหรียญ (ราว 1.2ล้านบาท) และส่งไปใช้กันเกือบทุกจุดตรวจในกรุงแบกแดดที่สำคัญก่อนหน้าการจับกุม สำนักข่าวบีบีซี ได้รายงานข่าวเชิงสืบสวนเพื่อจับโกหกเครื่องมือชนิดนี้ซึ่งตัวแทนจำหน่ายโฆษณาว่า...สามารถค้นหาวัตถุระเบิดได้อย่างแม่นยำมี
ประสิทธิภาพด้วยการ์ดอิเล็กทรอนิกส์แบบพิเศษแต่แท้ที่จริงแล้วเครื่องมือดังกล่าวไม่สามารถค้นหาวัตถุระเบิดได้จริง!เป็นที่น่าสังเกตว่า...ทั้งรูปลักษณ์และวิธีการทำงานของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดADE-651 มีความคล้ายคลึงกับเครื่องตรวจร่องรอยสสารระยะไกลหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200” ซึ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงใช้กันอย่างกว้างขวางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตัวเครื่องจะมีเสาอากาศคอยชี้จุดหรือทิศทางที่ตรวจพบสารที่ต้อง
การค้นหาขนาดของเครื่องไม่ใหญ่นัก สามารถถือได้อย่างเหมาะมือ มีการ์ดใส่เข้าไปในตัวเครื่องเพื่อกำหนดชนิดของสสารที่ต้องการตรวจและอ้างว่าใช้ไฟฟ้าสถิตย์จากตัวผู้ถือไปค้นหาสนามแม่เหล็กจากสารประกอบระเบิดมีการตั้งข้อสังเกตว่า...บริษัทที่ถูกจับกุมในอังกฤษน่าจะเป็นบริษัทเดียวกันกับที่จำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่มีชื่อทางการค้าว่า ADE-101 ซึ่งกำลังถูกจัดซื้อเพื่อนำมาใช้ในภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทยก่อนหน้านี้ องค์กรภาค
ประชาสังคม นักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนชุมชนในอินเตอร์เน็ตได้ออกมาตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200หลังจากฝ่ายความมั่นคงใช้เครื่องมือดังกล่าวตรวจหาวัตถุระเบิดและแสดงผลผิดพลาดถึง 2 ครั้งซ้อน จนเกิดระเบิดครั้งรุนแรงที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส(คาร์บอมบ์) เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2552และในตลาดสดกลางเมืองยะลา (มอเตอร์ไซค์บอมบ์) เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ปีเดียวกันเป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากผล
จากความผิดพลาดดังกล่าว ทำให้กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจทหาร (พตท.) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ และสรุปว่า...ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากตัวผู้ใช้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญพอ หรืออาจจะพักผ่อนน้อยเนื่องจากเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดชนิดนี้ใช้ไฟฟ้าสถิตย์จากร่างกายผู้ถือเพื่อตรวจหาสนามแม่เหล็กจากสารประกอบระเบิดประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200เคยถูกนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม
เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภาโดยมีการเชิญผู้แทนจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกองทัพบกโดยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เข้าชี้แจงผลสรุปจากคณะกรรมาธิการฯ คือให้กองทัพจัดการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือชนิดนี้อย่างเป็นทางการด้วยวิธีการที่สากลยอมรับ ไม่ใช่จัดทดสอบโดยบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องแต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองจากฝ่ายความมั่น
คงแต่อย่างใดปัจจุบัน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม นักวิทยาศาสตร์ และชุมชนในอินเตอร์เน็ต ได้จัดทำฟอร์เวิร์ดเมล์ในนามของ “ชุมชนวิทยาศาสตร์หว้ากอ”หัวข้อ “ร่วมยับยั้งเครื่องตรวจระเบิดลวงโลก” มีเนื้อหาต่อต้านเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่มีชื่อทางการค้าแตกต่างกันหลายชื่อนอกจากนั้นยังมีนักข่าวต่างประเทศชื่อดังที่ทำข่าวอยู่ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขียนบทความเชิงประชดประชันผ่านเว็บไซต์ของตนเองกรณีฝ่ายความมั่นคง
ไทยใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ถูกตั้งคำถามว่ามีคุณสมบัติไม่ต่างอะไรกับของเล่นเด็กด้วยสำหรับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ใช้ในประเทศไทยมีราคาเครื่องละ9 แสนถึง 1.6 ล้านบาท และมีใช้ในกิจการเพื่อความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึง 535 เครื่อง! โดย “กองทัพบก” เป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อทั้งหมด