บล็อคข่าวส่งเสริมคนดี (รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา หามจั่วก็หนักนะ)

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

แฉเบื้องหลัง เบรกหวยออนไลน์ กลัวยี่ปั๊วรายใหญ่เสียประโยชน์... ท่อน้ำเลี้ยงแห้ง?

ที่มา Thai E-News


ที่มา เวบไซต์ prachachat
10 มกราคม 2553

หม่อมอุ๋ย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล แฉเบื้องหลัง โอบามาร์ค เบรก หวยออนไลน์ ตั้งคำถาม ตรงๆ เป็นห่วงเด็ก หรือ กลัว ยี่ปั๊วรายใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคใหญ่อายุเก่าแก่เสียผลประโยชน์กันแน่ เผยนักการเมืองรุ่นใหญ่ในพรรคขนาดใหญ่ ชงเรื่องนี้ในที่ประชุมพรรค ท้าทาย อภิสิทธิ์ แน่ใจหรือจะปราบคอร์รัปชั่น

...สัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีทำให้คนประหลาดใจ อีกครั้งด้วยการออกมาให้ความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการให้ประชาชนซื้อลอตเตอรี่ผ่านเครื่องที่ขายโดยอัตโนมัติ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการกองสลาก ได้มีมติให้ออกหวย 2 ตัว และ 3 ตัว ขายผ่านเครื่องดังกล่าวโดยกำหนดวันขายครั้งแรกแล้วในต้นเดือนมีนาคม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำลังเตรียมการตามมติดังกล่าว ด้วยเข้าใจว่า เรื่องนี้คงจะได้รับอนุมัติโดยรัฐบาลแล้ว คณะกรรมการกองสลากจึงได้มีมติเช่นนั้น

จู่ๆ นายกรัฐมนตรีก็แสดงความเห็นที่ไม่เห็นด้วย เกิดอะไรขึ้น!

ก่อนอื่นขอเล่าย้อนถึงที่มาของการที่จะใช้เครื่องขายลอตเตอรี่แทนคนเสียก่อน เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หลายฉบับยังสับสนอยู่

เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ราคาขายของสลากกินแบ่งที่ผู้ซื้อสลากต้องจ่ายสูงกว่าราคาขายที่กองสลากมาเป็นเวลานานแล้ว

สมัยที่กองสลากกำหนดราคาขายที่ฉบับละ 10 บาท ก็ขายกันอยู่ที่ฉบับละ 11 บาทบ้าง 12 บาทบ้าง และปัจจุบันสลากกินแบ่ง ซึ่งกองสลากกำหนดให้ขายฉบับละ 80 บาทนั้น ผู้ซื้อสุดท้ายต้องซื้อในราคาฉบับละ 110 บาท ผลต่าง 30 บาทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

มีคนพยายามอธิบายว่า ในการจำหน่ายสลากกินแบ่งให้ทั่วถึงทั่วประเทศ จำเป็นต้องจัดเครือข่ายของคนขายเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับแรกที่รับซื้อจากกองสลากไปจัดจำหน่ายต่อ ที่เรียกว่ายี่ปั๊ว ซึ่งเท่าที่ทราบมี 5 รายใหญ่ ซึ่งนำสลากที่รับซื้อมาทั้งหมดไปกระจายต่อไปยังผู้จัดจำหน่ายระดับรองลงไป และกระจายต่อไปจนถึงผู้ขายปลีกในขั้นสุดท้าย

เนื่องจากมีหลายระดับขั้น จึงต้องเพิ่มราคาขายในขั้นสุดท้ายขึ้น เพื่อให้ผู้จำหน่ายแต่ละระดับ มีรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายและค่าเหนื่อยในการจัดจำหน่าย

นอกจากนี้ ผู้จัดจำหน่ายที่รับซื้อสลากไปจากกองสลากแล้ว หากขายออกไม่หมด ยังต้องรับซื้อไว้เอง ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนเพิ่มอีกส่วนหนึ่งด้วย

ฟังเผินๆ ก็ดูมีเหตุผลดี แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียด พบว่า ในการจำหน่ายสลากนั้น พ.ร.บ.สลากกินแบ่ง อนุญาตให้แบ่งส่วนรายได้จากการขายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายถึงร้อยละ 12 อยู่แล้ว

ซึ่งหมายความว่า ในราคาสลากที่กำหนดไว้ฉบับละ 80 บาทนั้น มีส่วนที่เตรียมไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายอยู่แล้วถึง 9.60 บาท
และแม้ว่าผู้จำหน่ายระดับยี่ปั๊ว จะต้องรับภาระสลากที่ขายไม่ออก แต่ความรู้เกี่ยวกับสถิติการจัดจำหน่ายที่ทำอยู่เป็นประจำ ก็น่าจะช่วยให้ยี่ปั๊วทุกราย สามารถประมาณจำนวนที่ควรรับไปจำหน่ายได้ใกล้เคียงกับยอดที่จะขายได้จริง ไม่น่าจะมีจำนวนที่เหลือขายมากนัก

ถ้าเปิดโอกาสให้มียี่ปั๊วรายใหม่ เข้าไปแข่งขันเพิ่มขึ้น หรือถ้ายี่ปั๊วรายใหญ่ที่มีอยู่เดิม แข่งกันอย่างจริงจัง ราคาสุดท้ายไม่น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 110 บาท ดังที่เป็นอยู่ได้เลย

แต่เป็นที่น่าเศร้าใจ ที่ในโลกแห่งความเป็นจริง ยี่ปั๊วรายใหญ่ ไม่ได้แข่งขันกันอย่างจริงจัง มียี่ปั๊วรายใหญ่ที่สุดเป็นแกนกลางประสานประโยชน์ จัดระบบการจำหน่ายทั้งเครือข่าย และกำหนดราคาจัดจำหน่ายในขั้นต่อๆไป

ผมเข้าใจดีว่า ผู้จัดจำหน่ายรายย่อย จะต้องมีรายได้ในการจัดจำหน่ายเพื่อใช้จ่ายในการยังชีพ แต่เท่าที่ทราบมา ผู้จัดจำหน่ายรายย่อยนั้นได้รับส่วนแบ่งรายได้ไม่มากนัก รายได้ขนาดใหญ่ตกอยู่กับยี่ปั๊วระดับแรกซึ่งเป็นผู้จัดระบบทั้งหมด

ระบบนี้มีมานานหลายสิบปี และยี่ปั๊วรายใหญ่เหล่านี้ก็ได้รับประโยชน์มานานแล้ว

ทำไมจึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงระบบนี้ได้ และทำไมจีงปล่อยให้ผู้ซื้อสลาก ซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นผู้มีรายได้ต่ำ ต้องรับภาระราคาส่วนเพิ่มที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวมาโดยตลอด

คำตอบก็คือยี่ปั๊วชุดนี้ มีผู้นำที่เก่งมาก เป็นผู้ประสานประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์ทีดีกับนักการเมืองในพรรคขนาดใหญ่พรรคหนึ่ง และเป็นท่อน้ำเลี้ยงที่สำคัญสำหรับพรรคการเมืองนั้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว

ย้อนไปเมื่อกว่า 20 ปีมาแล้ว เมื่อพรรคขนาดใหญ่ดังกล่าวเป็นฝ่ายค้าน พรรคการเมืองคู่แข่งที่อยู่ในรัฐบาล พยายามเปลี่ยนระบบจัดจำหน่ายให้เป็นธรรมขึ้น เตรียมจัดให้มีการจำหน่ายสลากกินแบ่งด้วยเครื่อง แทนการจำหน่ายด้วยคน เพื่อมิให้มีการโก่งราคากันอีกต่อไป จึงได้จัดให้มีการจัดซื้อเครื่องขายสลาก ซึ่งมีการประมูลกันอย่างนับว่ายุติธรรมมาก ด้วยมีคุณสุธี อากาศฤกษ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตของแผ่นดินเป็นประธานในการตัดสินการประกวดราคา

ซึ่งสรุปผลการประกวดราคาได้เสร็จตั้งแต่รัฐบาลนั้น แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบเครื่องขายสลากดังกล่าว ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล และพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับยี่ปั๊วสลากรายใหญ่เข้ามาอยู่ในรัฐบาลอีก จึงมีการถ่วงไม่ให้มีการส่งมอบเครื่องดังกล่าวต่อไปอีก
ต่อมาเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้าเป็นรัฐบาล พรรคขนาดใหญ่นั้นก็กลับไปเป็นฝ่ายค้านอีก กองสลากจึงดำเนินการเจรจากับบริษัทผู้ขายเครื่องจำหน่ายสลาก ซึ่งประกวดราคาเสร็จไว้แล้วต่อไป จะด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ แทนที่จะเตรียมนำเครื่องนั้นไปใช้ในการจำหน่ายสลากกินแบ่ง กองสลากได้เปลี่ยนให้เตรียมนำไปใช้ในการจำหน่ายหวย 2 ตัว 3 ตัว ซึ่งเริ่มออกจำหน่ายในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย เพื่อทดแทนการจำหน่ายด้วยคนบางส่วน


บังเอิญเรื่องหวย 2 ตัว 3 ตัวนี้ต้องชะงักลงในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ เมื่อมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน มีการรื้อฟื้นให้กองสลากเตรียมจำหน่ายหวย 2 ตัว และ 3 ตัวโดยจะให้จำหน่ายด้วยเครื่องไม่ใช้คน ดังที่ทำอยู่เดิมในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย รัฐบาลปัจจุบันพิจารณาเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง จนในที่สุดกองสลากก็มีมติดังกล่าวแล้ว หลายคนก็เข้าใจว่า พรรคแกนนำ ซึ่งรู้เรื่องความเป็นมาของการจำหน่ายสลากกินแบ่งเป็นอย่างดี คงจะได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นที่พอใจแล้ว คงจะเห็นว่า การใช้เครื่องจำหน่ายหวย 2 ตัว 3 ตัว ไม่น่าจะมีผลกระทบระบบจำหน่ายสลากกินแบ่งที่เป็นอยู่

แต่ยี่ปั๊วรายใหญ่ที่เป็นคนกลาง มองเห็นอนาคตข้างหน้าได้อย่างทะลุปรุโปร่งมากกว่า โดยเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ใช้เครื่องขายหวย 2 ตัว 3 ตัว และปรากฏว่า ผู้ซื้อหวยสามารถซื้อได้ตามราคาที่กองสลากกำหนด ไม่ต้องจ่ายแพงกว่ามากดังเช่นในกรณีสลากกินแบ่ง ในที่สุดผู้ซื้อสลากกินแบ่งก็อาจเรียกร้องให้มีการจำหน่ายสลากกินแบ่งด้วยเครื่องแทนระบบเดิม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น รัฐบาลและกองสลาก ก็ต้องสนองตอบต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนผู้ซื้อสลาก ทุกอย่างก็จะสายเกินแก้ จึงจำเป็นต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยการหาทางขัดขวางไม่ให้มีการขายหวย 2 ตัว 3 ตัว ด้วยเครื่องตั้งแต่เริ่มแรก

นี่คือที่มาของการที่นักการเมืองรุ่นใหญ่ในพรรคขนาดใหญ่ หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาในที่ประชุมของพรรคนั้น เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้หรือหาทางหยุดเรื่องนี้

หลังจากนั้นไม่เกิน 3 วัน นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ทุกคนเข้าใจว่า รัฐบาลอนุญาตแล้วตามที่คณะกรรมการกองสลากลงมติ

มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย

- หากนายกฯไม่เห็นด้วย ทำไมไม่แสดงความเห็นคัดค้านตั้งแต่แรก เพราะมีช่วงเวลาที่จะคัดค้านได้หลายตอนก่อนที่กองสลากจะมีมติ

- นายกฯเกรงใจใครหรือ จนถึงกับไม่กล้าดำเนินการในสิ่งที่รัฐมนตรีที่มีความสามารถหลายคนดูมาแล้วว่าเหมาะสม

- หรือว่ากลัวว่าท่อน้ำเลี้ยงจะแห้งลง ถ้ากลัวเช่นนี้แล้วใครจะเชื่อว่า ท่านกล้าปราบคอร์รับชั่นจริง

คำถาม

คุณสนทวย จากเวบบอร์ด ประชาไท

ตั้งแต่ปฏิวัติ 19 กย. มาถึงวันนี้ มีเงินหล่นที่กองสลาก 2 แสนล้าน

ตั้งแต่ปฏิวัติมาเนี่ย สลากแพงขึ้นกว่าราคาขายประมาณ 30-40 บาทต่อฉบับ
หนึ่งงวดพิมพ์ราวๆ 70 ล้านฉบับ ส่วนต่างเฉพาะตรงนี้ 2800 ล้านบาท ต่องวด
3 ปีกว่าๆ มานี้ ออกสลากรวมแล้วประมาณ 72 งวด ไม่มากมายครับ
2 แสนกว่าล้านเท่านั้นเอง เงินนี้ไปอยู่ในกระเป๋าใครครับ

============================

คุณ Mark Levinson จากเวบบอร์ด ประชาไท

"Cut the crap" ขอเข้าประเด็นตรงๆ เลย

ขอชื่อตั๋วปั้ว ยี่ปั้ว ตัวโตๆ ที่เกาะกุมกองสลากด้วย กี่กระทู้กี่คน ก็พูดมันแต่เรื่องการคำนวณการกิน

อทราบชื่อเลยได้ไหมว่า ใครคนไหน บริษัทใคร มันเกาะกินที่กองสลากที่เหมาซื้ออยู่เจ้าเดียวเนี่ยนะ

จะได้ไปค้นชื่อเอามาเปิดเผยกันได้ กี่ช่องก็พูดมันแต่เรื่องการกิน แต่ไม่บอกชื่อว่ารายไหนกันบ้าง

บอกชื่อบริษัทมาเลยพี่น้อง เข้าประเด็นเลย ไม่เอาแบบคำนวณเงินแล้ว ไม่มีรู้ว่าใครอีกแล้ว น่าเบื่อมากๆ

ข่าวส่งเสริมคนดี

จำนวนผู้เข้าเยี่มมชม

link to affordable web hosting
Powered by web hosting provider .

สถิติการเข้าชม DMNEWS

eXTReMe Tracker